เทคโนโลยีของทีวีในปัจจุบันนี้ ผมยอมรับว่ามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้งาน เช่นคุณภาพของหน้าจอจาก จอแก้ว มาถึงจอ LED คุณภาพสูง จนกระทั่งจอที่มีคุณภาพสูงสุด ณ ตอนนี้คือ OLED แต่เทคโนโลยีหนึ่งที่ผมจะหยิบขึ้นมานั้น คือ การนำระบบปฏิบัติการมาใส่ให้กับเจ้าทีวีนี่ละครับ เพราะเดี๋ยวนี้อะไรก็จะต้องสมาร์ทกันทั้งนั้นแล้ว เช่น Smart Phone, Smart Watch แล้วทีวีมีรึจะยอม โดยแต่ละแบรนด์ก็ได้พยายามสร้างสมาร์ททีวี(Smart TV)ที่มีคุณภาพสูงออกมาให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินกับประสบการณ์อันแปลกใหม่นี้ ซึ่ง LG ก็เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ได้สร้างสมาร์ททีวีที่มีคุณภาพสูงขึ้นมา ด้วยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า webOS ซึ่ง LG ได้ทำการพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม เพื่อเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมกับการใช้งานกับสมาร์ททีวีของตน
แต่นอกจากจะต้องมีระบบปฏิบัติการที่ดีแล้ว การสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้งาน (User Experience)และ การสร้างรูปแบบการนำเสนอและการใช้งาน (User Interface) ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย เพราะจากสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่รู้จักสมาร์ททีวี แต่ไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ของทีวีได้ครบถ้วนทั้งหมด รวมไปถึงขั้นตอนการติดตั้ง หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ก็ไม่ได้มีรูปแบบการนำเสนอออกมาให้ผู้ใช้งานนั้นเข้าใจและใช้งานได้แบบง่ายๆ ทำให้ทาง LG ได้นำเอาปัญหาเหล่านั้นมาทำความเข้าใจและสร้างคอนเซปต์Make TV Simple Again นั่นเอง
ทีนี้คุณอาจจะสงสัยว่า มันจะ Make TV Simple Again ได้ยังไงใช่มั้ยครับ ผมขออนุญาตอธิบายให้เข้าใจง่ายๆนะครับ โดยผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของ Software และ Hardware
ในด้านของ Software
– การติดตั้งและเชื่อมต่ออุปกรณ์นั้น ทาง LG ได้สร้าง Mascot ประจำ Web OS ที่ชื่อว่า Bean Bird โดยเจ้านกตัวนี้จะเป็นคล้ายกับผู้ช่วยของเรา ที่จะคอยช่วยเหลือเราในการติดตั้งการใช้งานครั้งแรกและการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้ากับทีวีของเรา โดยเจ้าระบบปฏิบัติการ webOS ได้แบ่งขั้นตอนออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานนั้น ใช้งานได้ง่ายที่สุดตามคอนเซปต์Simple Connectionไว้ดังนี้ครับ
Fun Setup (การติดตั้งแสนสนุก)
เมื่อครั้งแรกที่เปิดทีวีขึ้นมานั้น เราจะพบกับผู้ช่วยสุดน่ารักของเรา เจ้า BeanBird หลับอยู่ ซึ่งเราเพียงทำหน้าที่ปลุกเจ้านกตัวนี้ขึ้นมาโดยใช้เมจิกรีโมท (Magic Remote) หรือคลิกปุ่ม OK หลังจากนั้นเจ้านกตัวนี้ก็จะคอยช่วยเหลือเราในการติดตั้งทีละขั้นตอนไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการการตั้งค่าภาษาให้กับทีวีของเรา, การเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อให้ทีวีของเราสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต, การค้นหาสัญญาณทีวีเพื่อให้ทีวีของเราสามารถรับชมได้ในแต่ละช่อ
ง ซึ่งสุดท้ายเราก็จะสามารถใช้งานทีวีของเราได้อย่างเต็มที
Input Assist (ตัวช่วยในการเชื่อมต่อ)
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับทีวีในยุคสมัยนี้ คือ การนำทีวีเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริมต่างๆ โดยระบบปฏิบัติการ webOS นั้นจะตรวจจับและสามารถรับรู้ได้ทันทีที่มีการเชื่อมต่อเครื่องเล่นหรืออุปกรณ์เสริมเข้ากับทีวี เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสลับไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับทีวีนั้นได้ และหากภายหลังที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์เดิมซ้ำอีกครั้ง เราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งเสียเวลาในการเชื่อมต่อใหม่แล้ว เพราะระบบปฏิบัติการ webOS นั้นสามารถจดจำเครื่องเล่นหรืออุปกรณ์เสริมที่เคยใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานครั้งต่อไปได้ทันที
นอกจากจะมีความง่ายทางการการติดตั้งและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ทางระบบปฏิบัติการ webOSได้สร้างไว้ คือ ความง่ายในการเข้าถึงคอนเทนต์ที่ต้องการได้ทุกที่ตลอดเวลาที่มีการใช้งานทีวี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปที่หน้า Home หรือหน้าจอหลักเพื่อทำการสลับคอนเทนต์ต่างๆโดยทาง webOSจะเรียกสิ่งนี้ว่าLauncher ซึ่งเป็นแถบเมนูด้านล่างของจอภาพนั่นเองครับ โดย Launcher ของระบบปฏิบัติการนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
Recent :: ส่วนนี้จะอยู่ทางด้านซ้ายสุดของแถบเมนู ทำหน้าที่เก็บสิ่งต่างๆที่เราทำไว้ในขณะที่เปิดทีวี ทำให้เราสามารถสลับสิ่งที่เราเปิดไว้อยู่ไปมาได้อย่างรวดเร็วครับ
Home :: เป็นส่วนหลักที่ปรากฏที่ตรงกลางของแถบเมนู ซึ่งเป็นฟีเจอร์หลักของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ว่าจะเป็น LG Store, Web Browser, หรือฟีเจอร์อย่าง Time Machine ที่ให้เราดูทีวีย้อนหลังได้ เหมือนมีเครื่อง Time Machine ยังไงยังนั้นเลยครับ
My Apps :: เป็นส่วนที่จะปรากฏทางขวาของแถบเมนู โดยส่วนนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับเราแล้วละครับ ว่ามีการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นอะไรจาก LG Store มาบ้าง
นอกจากแถวเมนูที่ผมได้บอกไปทางข้างต้นแล้วตัวระบบปฏิบัติการ Web OS นั้นยังมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า ฟีเจอร์ Live Menu ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้งานไปพร้อมๆ กับการรับชมทีวีอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล รายการแนะนำและตัวเลือกช่องรายการ สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงแค่คลิกเท่านั้นครับ
บางคนอาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติม นะครับ สมมติว่าเรากำลังดูหนังผ่านทาง External Hard Disk ที่เชื่อมต่อไว้กับทีวีของเรา ซักพักเพื่อนเราก็แนะนำให้เราดู Video จาก YouTube เราก็สามารถกดที่เมนู Home เพื่อสลับไปยังแอพพลิเคชั่น YouTube เพื่อดูได้ทันที และเมื่อดูวีดีโอดังกล่าวเสร็จสิ้น เราก็สามารถสลับกลับมาดูหนังที่เราดูค้างไว้ต่อได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่
และในส่วนสุดท้ายของด้าน Software ที่ไม่พูดไม่ได้เลยคือรูปแบบดีไซน์ของหน้าจอที่เล่นสีสันสดใสเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันความหลากหลายของแอพพลิเคชั่นบน LG Store ซึ่งในส่วนนี้นั้นทาง LG ได้พยายามสร้าง Application ที่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยไว้ในระดับนึงแล้วเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้งาน แต่หากเป็นแอพพลิเคชั่นของต่างประเทศนั้นพูดได้เลยว่าเยอะแยะมากมายเลยครับ ทั้งนี้ทาง LG เองก็ได้เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอพพลิเคชั่น เพื่อนำมาลง LGStoreให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแบบฟรีและเสียเงินได้อีกด้วย โดยผมจะขอกล่าวในส่วนถัดไปสำหรับการเขียนแอพพลิเคชั่นบน LG Store นะครับ
ในด้านของ Hardware
มาในด้านของ Hardwarerกันบ้างครับ โดยสิ่งที่เป็น Hardware และทำให้ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสประสบการณ์ที่ดีต่อการใช้งานบนสมาร์ททีวีได้ ภายใต้คอนเซปต์MakeTV Simple Again นั้น คือ รีโมทนั่นเองครับ โดยทาง LG ได้สร้างอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า เมจิกรีโมท (Magic Remote) ซึ่งเป็นรีโมทคอนโทรลอัจฉริยะที่ใช้ควบคุมทีวีได้ง่านเสมือนกับเป็นเมาส์ไร้สาย โดยเจ้าเมจิกรีโมทนั้นมีความสามารถหลากหลาย ดังนี้ครับ
- Pointing: เพียงแค่ชี้แล้วคลิก รีโมทอัจฉริยะสำหรับทีวีของคุณ
- Wheel: หมุนเพื่อเลื่อนขึ้นลง ซูมเข้าออกด้วย Wheel เป็นเสมือนScrollerของเมาส์คอมพิวเตอร์
- Gesture: ง่ายๆ แค่ทำสัญลักษณ์เพราะมีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวช่วยให้คุณสั่งงานทีวีได้คล่องแคล่ว
- Voice: ค้นหาสิ่งที่ต้องการเพียงพูดคีย์เวิร์ดใส่เมจิกรีโมท
ด้านการเขียนและพัฒนาแอพพลิเคชั่นลง LG Store
ในส่วนนี้ผมไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากนะครับ เพียงจะแนะนำในเรื่องของภาษาที่เขียนและ Framework โดยสำหรับผู้ที่สนใจ และ ต้องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน webOS นั้นหากเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการเขียน Web Application อยู่แล้ว ไม่ยากครับ ยิ่งผู้ที่เคยใช้ Node JS เป็นอยู่แล้วยิ่งสบายเลยครับ เพราะ Web OS นั้นใช้ EnyoFramework ที่มีพื้นฐานมาจาก Node JS ครับ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นชินอาจจะต้องศึกษาEnyo Framework ของ webOS ซักนิดนึงโดยเจ้า Frameworkดังกล่าวจะใช้ JavaScript ในการเขียน Application เป็นหลักครับ
โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://developer.lge.com/webOSTV/sdk/web-sdk/ ซึ่งหลังจากที่เราดาวน์โหลดมาแล้ว เราจะได้สิ่งที่ทาง LG สร้างขึ้นไว้ให้เรา คือ
- IDE สำหรับการเขียน Application โดยมีพื้นฐานมาจาก Eclipse ครับ
- Web OS CLI เป็น Command Line ที่ใช้ในการสร้าง Project, การนำโปรเจคของเราแพคเป็นไฟล์เพื่อนำขึ้น LG Store เป็นต้น
- ตัวจำลอง Web OS TV Emulator เพื่อใช้ในการจำลองเครื่องของเราเป็น Smart TV ของ LG และทดสอบ Application ที่เราได้ทำการสร้างขึ้นครับ
สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาวิธีการเขียนแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมนั้น สามารถศึกษาได้จากลิงก์ทางด้านล่างครับ
http://forums.webosnation.com/
http://developer.lge.com/webOSTV/develop/web-app/
ส่วนลิงก์ด้านล่างนี้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา Enyo Framework เพิ่มเติมนะครับ
http://enyojs.com/docs/2.3.0/
มาถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะมองภาพออกกันแล้วนะครับว่า LG นั้นสามารถทำให้ Smart TV ที่ใช้กันยากๆมาเปลี่ยนให้เราใช้กันได้อย่างง่ายดาย ภายใต้คอนเซปต์ที่ว่าMakeTV Simple Againได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น เจ้าBeanBirdนกน้อยตัวอ้วนปุ๊กผู้ช่วยประจำตัวของเรา ที่คอยช่วยเหลือเราตั้งแต่เปิดเครื่องทีวีมา หรือความสามารถของระบบปฏิบัติการ webOSที่อำนวยความสะดวกในการใช้งาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆรวมถึงคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นที่มีบน LG Store อย่างมากมายเพื่อให้ดาวน์โหลดไปใช้งานและความสามารถอื่นๆอีกมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานทีวีของตนเอง โดยที่ไม่รู้สึกว่าการใช้งานในแต่ละครั้งมันยุ่งยากจนต้องหันกลับไปใช้งานทีวีแบบธรรมดาอีกครั้ง