Lifestyle'nTrend

Location-Based Services (LBS): อยู่ที่ไหน อยากไปไหน ไปอย่างไร ด้วย LBS

บริการเกิดขึ้นมากมายบนพื้นฐานของระบบบอกตำแหน่ง Location-Based Services (LBS) หรืออาจถูกเรียกว่า Location Services (LCS) โดยผู้ให้บริการมือถือมักจะร่วมพัฒนาบริการกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้ข้อมูล ต่างๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการ ข้อดีของบริการที่เห็นได้ชัดก็คือผู้ใช้มือถือไม่จำเป็นต้องใส่รหัสไปรษณีย์ (มักนิยมใช้กันอยู่ในบางประเทศ) หรือ ป้อนข้อมูลเพื่อระบุตำแหน่งก่อนใช้บริการ

Location-Based Services

ลักษณะบริการที่พบเห็นบ่อยไม่พ้นคำถามง่ายๆ ว่า “ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน?” “จะไปที่สถานที่ที่ต้องการได้อย่างไร?” “คุณอยู่ที่ไหน?” “มีอะไรอยู่แถวนี้บ้าง?” ซึ่งไม่พ้นการค้นหาสถานที่ คน สัตว์ หรือ สิ่งของนั้นเอง เมื่อเราต้องการที่จะให้บริการ LBS ก็ต้องคำนึงถึงอย่างน้อย 5 ปัจจัย ต่อไปนี้

 

  • Mobile devices: เครื่องมือถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ในการร้องขอ ตอบรับ หรือ แสดงผลข้อมูล ในรูปแบบของเสียง ภาพ ข้อความ ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น มือถือ พีดีเอ โน้ตบุ๊ก หรือแม้แต่อุปกรณ์แสดงแผนที่ในรถยนต์
  • Communication network: โครงข่ายที่ไว้สำหรับรับส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคำสั่งขอใช้บริการ และที่สำคัญส่งบริการที่เป็นข้อความ ภาพ เสียง วิดิโอ
  • Positioning component: เพื่อที่จะให้บริการหนึ่งๆ ได้จะต้องทราบตำแหน่งของผู้ใช้โดยได้จากโครงข่ายมือถือ อุปกรณ์ Global Positioning System (GPS) หรือ แม้แต่การติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ ไว้เพื่อติดต่อสื่อสารบอกตำแหน่งที่มักถูกใช้ภายในอาคารอย่างพิพิธภัณฑ์
  • Service and Application Provider: เป็นผู้นำเสนอบริการต่างๆ ให้กับผู้ใช้ รวมถึงการตอบสนองการเรียกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณหาตำแหน่ง ค้นหาเส้นทาง ค้นหาเช่นเดียวกับสมุดหน้าเหลือง ตามข้อมูลที่ต้องการค้นหา
  • Data and Content Provider: ผู้ให้ข้อมูลคอนเทนต์ต่างๆ โดยปกติจะไม่เก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ แต่จะมีการเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญต่างๆ เช่นผู้ให้บริการแผนที่ซึ่งเป็นหัวใจหลักของบริการนี้เลยก็ว่าได้

การให้บริการสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้สองกลุ่มคือ Pull services และ Push services สำหรับ Pull services นั้นเป็นลักษณะบริการที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับการเข้าใช้งาน เว็บ โดยอาจจะแบ่งย่อยได้เป็น functional services อาทิเช่นการเรียกแท็กซี่ รถพยาบาล และ information services อย่างการค้นหาธนาคาร หรือ ร้านอาหารห้าดาวซักร้าน

ส่วน Push services ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งโดยมีการร้องขอ หรือ ไม่มีก็ตามจากผู้ใช้บริการ โดยปกติบริการจะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้เข้าสู่บริเวณที่กำหนด หรือ ตามเวลาที่ตั้งไว้ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ก็คือบริการโฆษณาสินค้าลดราคา นักช็อปลองคิดดูว่าจะสะดวกแค่ไหนถ้าเราเพียงผ่านไปใกล้ๆ กับห้างที่กำลังลดราคาอยู่ เราไม่จำเป็นที่จะต้องเดินไปดูป้ายโฆษณา หรือ เดินหาแผ่นพับให้เมื่อยอีกต่อไป ข้อมูลทุกอย่างจะมาอยู่ในมือคุณ โดยผู้ใช้สามารถสั่งซื้อของได้เลยทันทีผ่านเจ้ามือถือคู่กายเครื่องเดียว อย่างไรก็ตามบริการลักษณะนี้มีแง่ผลอยู่ด้วย ถ้ามีการส่งมากเกินความจำเป็น ความสำคัญของข้อมูลก็จะลดลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นข้อมูลที่น่าลำคาญไป ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องวางแผนก่อนเปิดบริการเป็นอย่างดี

หนึ่งบริการ LBS ในตลาดญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจและเป็นการต่อยอดความสามารถของบริการบอกตำแหน่งได้ อย่างชาญฉลาด บริการนี้มีชื่อว่า Otetsudai หรือ ผู้ช่วย นั้นเองบริการนี้ช่วยหาคนทำงานชั่วคราวให้ได้ในพริบตา โดยสร้างฐานข้อมูลความถนัดของแต่ละคนไว้ และติดตั้งซอฟต์แวร์บนตำแหน่งในตัวมือถือ  สำหรับนายจ้างที่ต้องการพนักงานชั่วคราวเพียงส่งข้อมูลไปยังระบบ จากนั้นไม่กี่นาทีก็จะได้ข้อมูลกลับ บอกถึงกลุ่มคนที่สามารถรับงานได้ ค่าจ้างที่เคยได้รับ พร้อมบอกตำแหน่งว่าอยู่ไกลแค่ไหนอย่างแม่นยำ

จากความสามารถของการบอกตำแหน่งที่แม่นยำด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ โทรศัพท์เคลื่อนที่  กับ  GPS  ไม่เพียงจะนำความสะดวกและรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายสู่ผู้ใช้บริการทั่วไป แล้ว   ยังมีส่วนช่วยองค์กรที่ต้องการนำการบอกตำแหน่งมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานใน ธุรกิจได้อีกด้วย

เพียงแต่ท่านมีเทอร์มินอลที่สามารถรองรับการบอกตำแหน่งที่แม่นยำจากระบบดาว เทียมบอกตำแหน่ง Global Positioning System (GPS)  โดยทำงานร่วมกับ คอมพิวเตอร์ควบคุม  ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Internet พร้อม  Internet Browser  โดยมีหลักการทำงานคือ การติดต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ควบคุมกับเทอร์มินอล จะผ่านทาง Application server และ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่   ส่วนการค้นหาตำแหน่งของเทอร์มินอลสามารถทำได้จากคอมพิวเตอร์ควบคุม ซึ่งติดตั้งที่สำนักงาน เพื่อประสานงานกับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่นอกสถานที่ซึ่งนับว่ามีส่วนเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กรได้ในระยะเวลาอันสั้น

คอมพิวเตอร์ควบคุม สามารถส่งข้อความไปยังเทอร์มินอลของพนักงานเพื่อสั่งการได้   ส่วนการแสดงแผนที่โดยทั่วไปมักจะมีความละเอียดที่แตกต่างกันไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถย่อหรือขยายแผนที่ในบริเวณที่ต้องการได้เพื่อดูราย ละเอียด   สำหรับการบันทึกการเคลื่อนที่ของเทอร์มินอลที่เคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ก็สามารถจัดเก็บไว้ได้  คอมพิวเตอร์สามารถทราบตำแหน่งปัจจุบันของแต่ละ  AGPS  เทอร์มินอล  ในลักษณะ Real time  สำหรับพนักงานสามารถใช้ฟังก์ชั่น  Privacy  ในการปิดไม่ให้ติดตามตำแหน่งนอกเวลาทำงานได้ การใช้งานการบอกตำแหน่งลักษณะเช่นนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

TELLME Application

  • ควบคุมการเดินรถ  โดยสามารถสั่งการให้เปลี่ยนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรติด ขัด
  • ธุรกิจที่มีการสั่งสินค้าอย่างเร่งด่วนจากลูกค้า  สามารถติดต่อกับพนักงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • Direct Sale  บริษัทสามารถทราบเส้นทางและจำนวนลูกค้าที่พนักงานได้ไปติดต่อ  ช่วยให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Fleet Management
  • ธุรกิจ Maintenance ช่วยให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในระยะเวลาอันสั้น
  • ธุรกิจรักษาความปลอดภัย   สามารถค้นหาตำแหน่งของพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ทันที  พร้อมทั้งสั่งการได้ด้วยความรวดเร็ว
  • ธุรกิจท่องเที่ยว   อำนวยความสะดวกในการปรับเปลี่ยนกำหนดการ  พร้อมทั้งบอกเส้นทางที่ถูกต้องจากส่วนกลางได้

ในบ้านเรา รถยนต์นับเป็นปัจจัยสำคัญที่อำนวยความสะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น ๆ อย่างทุกวันนี้ท่านคงไม่อยากที่จะขับในเส้นทางที่ไม่เหมาะสม พูดง่าย ๆ ก็คือ หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรติดขัดนั้นเอง เคยจินตนาการดูบ้างไหม ถ้ามือถือข้างกายเราจะช่วยนำทางไปยังจุดหมายได้เหมือนกับ Car navigator ที่มีติดมากับรถยนต์บางรุ่น

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ในญี่ปุ่น ได้นำเอาความสามารถในการบอกตำแหน่งมาให้บริการ Car navigation   มาช่วยบอกทิศทางโดยแสดงผลบนจอถึงการเคลื่อนที่ของรถยนต์ ร่วมกับ ระบบเสียงนำทาง ตัวอย่างการใช้งานจริงภายในรถ สำหรับค่าบริการถ้าลองคำนวณกลับเป็นเงินไทยดูก็ไม่ได้แพงมากนัก

หน้าจอแรกเมื่อผู้ใช้บริการเข้าใช้บริการหน้าจอขณะที่รถเคลื่อนที่ผู้ใช้ บริการสามารถค้นหาที่หมายโดยใส่ ชื่อร้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือ ที่อยู่   บนหน้าจอจะแสดงตำแหน่งรถยนต์ด้วยรูปรถสีแดง และ ระยะทางที่ได้เดินทางผ่านมาแล้วด้วยเส้นทึบสีฟ้า รวมทั้งสามารถขยายและย่อแผนที่ได้อีกด้วย   การบอกทิศทางของรถยนต์จะแตกต่างจากการบอกทิศทางสำหรับคนเดินอยู่บาง ประเด็น   สำหรับรถยนต์จะต้องมีเสียงนำทางเพื่อให้รวดเร็ว อาทิเช่น จะต้องเลี้ยวซ้าย หรือ ขวา ที่สี่แยก ถ้าผู้ใช้ไม่ทันได้มองแสดงการนำทางอาจจะทำให้เลยสี่แยกนั้นไปได้ ทำให้ต้องมีเสียงนำทางมาเตือน

ตัว Application ยังช่วยผู้ใช้บริการเลือกเส้นทางที่มีการจราจรคล่องตัว รวมทั้งสามารถเลือกว่าจะผ่านเส้นทางที่ต้องชำระค่าผ่านทาง หรือ เส้นทางธรรมดาได้ และในกรณีที่ออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตอนแรก ระบบก็จะทำการเลือกเส้นทางให้ใหม่อย่างอัตโนมัติ กล่าวได้ว่ามีฟังก์ชั่นการทำงานคล้ายคลึงกับอุปกรณ์ Navigator ที่ติดมากับรถเลยทีเดียว   การแสดงผลสามารถกำหนดให้แสดงผลแบบแผนที่ธรรมดา (map mode) หรือ จะเป็นการแสดงลูกศรในจุดที่จะต้องเลี้ยว (turn mode) โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของสีจาก เขียว เหลือง เป็นสีแดง เมื่อเข้าใกล้บริเวณที่จะต้องเลี้ยว   อีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่น่าสนใจคือ การค้นหาที่จอดรถ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถในญี่ปุ่นเป็นอย่างดี  คนญี่ปุ่นเป็นนักเดินทางตัวยง จะเห็นได้ในบ้านเราเองก็ตามถ้าดูจากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจะเห็นว่า ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับต้น ๆ เลยทีเดียวจากความต้องการในจุดนี้ผู้ให้บริการในญี่ปุ่นก็ได้เตรียมแผนที่ ต่างประเทศนอกเหนือจากในประเทศ โดยเริ่มใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี

ด้วยฟังก์ชั่นการบอกตำแหน่งเป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้เดิน ทางไปในที่ต่าง ๆ   สามารถเรียกข้อมูลสถานที่ใกล้เคียง   จาก ที่อยู่    เบอร์โทรศัพท์ ชื่อสถานีรถไฟ และจะแสดงผลเป็น แผนที่ ตารางรถไฟ สภาพการจราจร   และยังได้จัดเตรียมฟังก์ชัน Door to Door สำหรับผู้ใช้ที่เดินถนนทั่วไป   หรือแม้แต่ข้อมูลแผนที่ในต่างประเทศก็ตาม

แผนที่จะมีข้อมูลรูปร่างของตึก รวมทั้งข้อมูลถนน ข้อมูลเส้นทางเดินในสวนสาธารณะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเดินพักผ่อน  ช่วงเวลาที่สภาพอากาศไม่ดี เช่น วันที่ฝนตก   คนเดินเท้าในญี่ปุ่นสามารถเลือกเส้นทางหลบฝนได้   โดยบริการนี้ได้เตรียมข้อมูลรายละเอียด เช่น ทางม้าลาย สะพานลอย บันได ลิฟท์   หรือ แม้แต่คนที่ต้องการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ต้องขึ้นลงบันได ก็สามารถค้นหาเส้นทางได้จากมือถือ

การเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินเป็นที่นิยมเนื่องจากความสะดวก และ รวดเร็ว อย่างไรก็ตามในสถานีใหญ่ ๆ จะมีทางออกหลายจุด   ลองจินตนาการดูว่าจะสะดวกขนาดไหนถ้าเราสามารถดูภาพสถานที่รอบด้านทางออกแต่ ละจุดก่อนที่เราจะเดินทางไป   บริการนี้ได้เตรียมภาพในมุมกว้างของแต่ละทางออก

สำหรับผู้ใช้งานที่เดินทางไปในต่างประเทศบ่อย คงอาจจะเคยจินตนาการว่า ถ้ามีระบบบอกตำแหน่งอยู่กับมือตอนอยู่ในต่างประเทศจะสะดวกแค่ไหน คนญี่ปุ่นเป็นนักท่องเที่ยวในชีวิตจิตใจก็ว่าได้ จะเห็นได้ในบ้านเราถ้าดูจากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจะเห็นว่า ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับต้นๆ เลยทีเดียวจากความต้องการในจุดนี้ผู้ให้บริการในญี่ปุ่นก็ได้เตรียมแผนที่ ต่างประเทศนอกเหนือจากในประเทศและด้วยระบบที่รองรับทั้ง WCDMA และ GSM ทำให้สามารถรองรับการบอกตำแหน่งในต่างประเทศได้ สามารถส่งข้อมูลแผนที่ไปยัง server กลาง และ ส่ง link ไปยังเครื่องที่ไม่รองรับระบบ GPS แม้แต่ผู้ใช้งานในโครงข่ายอื่น หรือจะเป็น PC ก็ได้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในธุรกิจ และ ธุระส่วนตัว

อีกบริการหนึ่งที่ผู้ปกครองต้องรีบหามาไว้คู่กายบุตรหลานอันเป็นที่รักก็คือ มือถือที่ได้รับการออกแบบทั้งรูปแบบ น้ำหนัก สีสัน และ ฟังก์ชั่นการใช้งาน มาเพื่อคอยดูแลคนที่ท่านห่วงใยแทนเราฟังก์ชั่นที่ได้ตระเตรียมไว้ได้แก่ เสียงเตือนภัยดังระดับสูงถึง 100 dB พร้อมกับการติดต่อไปยังเลขหมายที่กำหนด ด้วยการโทรศัพท์ และ การส่งข้อความตำแหน่งที่ได้จาก GPS   สำหรับเสียงเตือนภัยจะสามารถหยุดได้ แต่การติดต่อไปยังเลขหมายที่กำหนดไว้จะยังคงมีอยู่ทุก 15 นาที สูงสุด 10 ครั้ง แม้ว่าจะปิดเครื่อง จนกว่าจะมีการใส่ password ที่ได้ตั้งไว้โดยผู้ปกครอง   เพิ่มความปลอดภัยด้วยการป้องกันการถอดถ่านออกจากเครื่องด้วยสกรู

ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชนตาม web site ต่าง ๆ ใน Internet ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสามารถถูกควบคุมในการเข้าใช้โดยผู้ปกครอง   การออกแบบที่ช่วยให้โทรออกได้อย่างรวดเร็วไปยังเลขหมายที่กำหนดไว้เพียงกด ปุ่มโทรออก หน้าจอมือถือจะแสดงผลรูปถ่ายพร้อมชื่อทำให้โทรออกด้วยเสียงตามปกติ หรือ จะนำความสามารถของ 3G อย่าง VDO call มาใช้ก็ยังได้   การค้นหาตำแหน่งของเครื่องสามารถทำได้จากมือถือ หรือ PC ด้วยการสมัครซึ่งเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนและค่าใช้จ่ายต่อครั้ง  สำหรับเครื่องที่รองรับ GPS ก็จะสามารถบอกตำแหน่งได้จาก GPS สำหรับมือถือที่ไม่รองรับจะใช้ข้อมูลจากสถานีฐานในญี่ปุ่นได้กำหนดให้ผู้ให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 จะต้องมีมือถือพร้อมฟังก์ชันการบอกตำแหน่งด้วย GPS เพื่อการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน  ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย มาพร้อมกับบริการต่าง ๆ มาสู่ชีวิตของผู้ใช้บริการอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ได้ด้วยความพร้อมของโครงข่าย ร่วมกับ มือถือ ซึ่งทำงานประสานกันอย่างลงตัวเพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการประเทศผู้บริโภค เทคโนโลยีอย่างเราคงต้องมีฐานลูกค้าและความมั่นคงทางการเงินที่มากพอสมควร เพื่อจะมีอำนาจการ

Reference: TELECOM JOURNAL

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

One Comment

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน