กลยุทธลึกลับที่สร้างความสำเร็จให้กับหลายองค์กรจะไม่เป็นสิ่งลึกลับอีกต่อไป ผู้ใช้บริการหรือลูกค้ามีปัญหาอะไรก็ตามผู้ให้บริการต้องสามารถแก้ปัญหาได้ และถ้าหากว่าผู้ให้บริการบางรายมีโซลูชั่น (Solution) ที่ให้ความน่าเชื่อถือสูง เชื่อถือได้มากเป็นสากลหรือเทียบเท่า (Perfect Solution) และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วสะดวกง่ายดายเพื่อผู้ใช้บริการ และจะเป็นข้อดีหากผู้ใช้บริการของคุณประสบปัญหา นั่นจะเป็นโอกาสที่ ผู้ให้บริการจะนำโซลูชั่นมาเสนอเพื่อเปลี่ยนวิกฤติของผู้ใช้บริการให้เป็นโอกาสของผู้บริการ
Blog ขององค์กรโดยผู้ให้บริการเป็นการตอบโจทย์ ที่พอดี ถึง ดีที่สุด
การเขียนหรือสร้าง Blog ที่ปัจจุบันนี้คนทั่วโลกคงไม่มีใครไม่รู้จัก คำว่า Blog และ Blogger ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นการเขียน Blog เป็นแค่การบันทึกข่าวสารและเขียนวิเคราะห์โดยนักเขียน, คอลัมป์นิสต์บุกเบิกไว้ก่อนโดยการเขียนไว้ใน E-Mail, กระทู้ หรือ เอกสาร Document ที่แทรกไว้ แล้วก็เกิดกลไลการกระจายข้อมูลโดยแบ่งเนื้อหาผ่าน E-mail หรือ ระบบ LAN ในองค์กรณ์ในการใช้เอกสารร่วมกันก็เกิดกลุ่มผู้วิจารณ์, ติชม และ แสดงความเห็น
ซึ่งงานเขียนในยุคนั้นที่เห็นได้ในประเทศไทย ก็น่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมือง หรือผู้เขียนบางท่านเป็นกลุ่มคุณแม่มือใหม่ ก็จะเขียนแนะนำวิธีเลี้ยงดูบุตร ตลอดไปจน การดูแลสุจภาพ Healthy (ซึ่งปัจจุบันนั้น เป็นคีย์เวิร์ดที่น่าจับตามองมากในกลุ่มธุรกิจเว็บไซต์ที่ขายบทความด้านสุขภาพ เพราะแนวโน้มสุขภาพคนทำงานนั้นเริ่มลดลง และควรจะให้ความสนใจในด้านนี้) มักจะเข้าไปตั้งกระทู้ หรือ ส่งต่อเมล์ให้กลุ่มเพื่อนๆหรือคนที่รู้จักส่งต่อกันไป ซึ่งในปัจจบันเราก็ยังคงเห็นระบบดั้งเดิมนี้ ซึ่งผู้อ่านนั้นจะให้การตอบสนองในเรื่องของวิธีการแสดงทัศนคติเพิ่มเติมหรือแนวทางที่แตกต่าง
บ้างก็โต้แย้งโดยใช้เวลาโต้ได้ทันทีทันใด หรืออาจจะมากกว่านั้นจนกว่าเรื่องหรือประเด็นจะเงียบและหมดความนิยมไปตามเวลา กระบวนการโต้ตอบและเผยแพร่แบ่งปันทัศนคติได้ถูกปรับปรุงเป็น Blog หรือที่แผลงมาจาก Web log ซึ่งคือกลไกของการแบ่งปันเนื้อหาเรื่องราวและการแสดงความเห็นโต้ตอบต่อกัน (Action, Interactive)
Blog จึงถือกำเนิดขึ้นต่อมาทำให้เกิด Blogger มากมายที่ต้องการแป่งปัน (Share) ข้อมูลและกลุ่มวัยรุ่นสามารถเข้ามาเขียนเรื่องราวกิจกรรมแปลกที่น่าสนใจ ผ่านระบบออนไลน์ เนื้อหาสำคัญและไม่สำคัญผสมผสานปนเปกันไปหลากหลายกลุ่มผู้เขียนทำให้เกิดมูลค่าของเนื้อหาซึ่งเป็นผลทำให้ เครื่องมือค้นหามีทางเลือกและเลือกเข้าผ่านบทความที่เกี่ยวข้องกันเป็นสายทอดยาว และแสดงผลขึ้นมาเนื้อหาเรื่องราวและคุณประโยชน์มากมายที่เกิดจากการแนะนำไม่ว่าเรื่องหรือกลุ่มใดๆเข้ามารวมตัวเป็นกระจุกอยู่บนอินเตอร์เน็ทและสามารถค้นหาผ่านเครื่องมือค้นหาอย่าง Google, Yahoo, Bing และ อื่นๆ เป็นสังคมและ Blog หรือ Online Journal (Blog ในอีกรูปแบบ)
จึงถูกระบุให้เป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดของ Web 2.0 หรือ Social Network ซึ่งเป็นยุคที่สองของระบบ Blog ในวงจรการพัฒนาตัวเองของมัน
ยุคที่สองของวงจรการพัฒนาหรือวิวัฒนาการของ Blog นั้นเป็นอีกเงื่อนไขและค่านิยมใหม่ ที่มากกว่าการแบ่งปันเนื้อหาที่เป้นสากล กลับเป็นการแบ่งปันเทคนิคที่ลึก และ เฉพาะด้านของหลายๆธุรกิจ ก้าวเข้าสู่โลกของการแข่งขัน ยุคที่สองของ Blog คือการโฆษณา, การทดลองใช้สินค้า, การแนะนำสถานที่สำคัญ ร้านอาหาร ตลอดจน กลยุทธหลากหลายกลุ่มคนดังที่มีชื่อเสียงนั้นให้ความสำคัญกับ Blogมากขึ้น บุคคลที่เป็นระดับ CEO ให้ความสนใจในตัว Blog ในการเขียนกลยุทธ How To ดังเช่น “ขั้นตอนการเป็นผู้นำ” กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาอ่านก็จะแสดงความเห็นต่างๆ เกิดการติดตาม และ ยกย่องให้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในเรื่องธุรกิจหรือเทคนิคใดๆ ทำให้เกิดการเชื่อถือใน Branding, เครื่องหมายตราการค้า, ชื่อองค์กร, สินค้าที่กำลังเข้าตีตลาด ทำให้ Blog ในยุคที่สองนั้นสร้างคุณค่าให้ธุรกิจหลากหลายเกิดวงจรที่เนื้อหาจากคนสำคัญ หรือบุคคลที่ชื่นชอบ นั้นมีการติดตาม เป็นกลยุทธที่เรียกว่า E-Marketing เริ่มต้น
ในยุคที่สามในวิวัฒนาการของ Blog นั้นกลับไม่มีอะไรที่ใกล้เคียงวิวัฒนาการในสองยุคที่ผ่านมาที่กลุ่มผู้อ่านนั้นจะติดตามและเลือกติดตาม Blogger ที่ชื่นชอบ กลับกันในยุคที่สาม จุดที่เป็นสำคัญเปลี่ยนไปยุคที่สามของ Blog กับเป็นวงจรที่แปลกแยก ผู้ประกอบการต่างในธุรกิจหลายธุรกิจ จะทราบปัญหาหลากหลายที่เหล่า Blogger ทุกรูปแบบไม่ว่าจะมีชื่อเสียงหรือไม่ ที่ประสบปัญหาผ่านเนือ้หาที่ปรากฏใน Blog ทำให้ผู้ให้บริการสามารถค้นหาคำตอบและแนวทางให้เลือกใช้ โซลูชั่น ที่เหมาะสมและแก้ปัญหาลูกค้าที่เป็น Blogger ได้ชัดเจน เรียกวิธีที่เข้าไปสอดแนมอ่าน Blog ของ Blogger เหล่านี้ว่า “การวิเคราะห์พฤติกรรม” ของผู้ใช้บริการ ในที่นี้ผู้เขียนสามารถยกตัวอย่าง บริษัท แคสเปอร์สกี้ไทยแลนด์ เป็นกรณีศึกษาที่ถือว่ามองจุดนี้ได้ชัดเจนและสามารถเอามาประยุกต์สร้างความเชื่อถือของสินค้าได้ดีทีเดียว
บริษัท Kaspersky แคสเปอร์สกี้ นั้นเคยจัดปาร์ตี้ Blogger เพื่อรวบรวมเหล่า Blogger ในเรื่องต่างมาแบ่งปันเนือ้หาและแนะนำ Blog ของตนกลับกันก้จะถามปัญหาเกี่ยวกับ AntiVirus ของเหล่า Blogger ว่ามีปัญหาอะไรพอหลังจากที่ได้ทราบปัญหาของเหล่า Blogger แล้วทางบริษัทก็ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ฟังก์ชั่นการทำงาน ไปจนถึงตัวซอฟท์แวร์ทดลองใช้ให้กับ Blogger บางคนที่ไม่รู้จักหรืออยากทดลองเกิดเป็นกระแสแนะนำ และวิจารณ์ไปจนถึงแสดงความเห็นแง่สินค้าการทำงาน ซึ่งตัวอย่างที่ยกมานี้แคสเปอรืสกี้ทำสำเร็จและมองเห็นจุดขายนี้ชัดเจน
สามารถไปดูรายละเอียดของ งานปาร์ตี้ Blogger ของ Kaspersky ได้ที่นี่ Daydev กับงานสัมมนา Blogger Party ของ Kaspersky Lab
สิ่งที่เขียนลงไปใน Blog เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดย Blogger ในแง่มุมที่ชื่นชมจากกลุ่มที่สามารถแก้ปัญหาของตัวเองได้จากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเรียกว่า Buzz Marketing ดังภาพที่เห็นด้านล่างเป็นกราฟวิจัยของ Gartner Hype Cycle of Emerging Technologies 2009 จุดที่พีคที่สุดในปี 2009 ทีผ่านนั้น เป็นกราฟของคือการ Buzz ซึ่งการ Buzz จาก Blogger นั้นเริ่มต้นมาจากเทรนและสินค้าบริการ IT และการวิจารณ์ สินค้าและบริการด้าน IT ในเฟสของ Slope of Enlightenment กราฟด้านขวามือนั้นแสดงให้เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างอยู่ตัวหลังจาก เปิดตัวสินค้าหรือออกแนวคิดในบริการนั้นๆไป
จากจุด Slope of Enlightenment ที่เห็นนั้นจะทราบว่า เทคโนโลยีต่างๆ หากได้รับความเข้าใจผ่านเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นวิธีใช้หรือแนะนำบริการ จะเป็นการสร้างจุดขายได้อย่างชัดเจนและเพิ่มคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้น่าติดตามโโยที่ไม่ต้องเสียต้นทุนค่าโฆษณาก้อนใหญ่ในทางเดียว แต่ลดลงมากระจายผ่านเนื้อหาที่เผยแพร่เป็นวงกว้างอย่าง Blog ทำให้เกิดการลงทุนที่น้อยไม่สร้างผลกระทบมากมายให้แก่สินค้าหรือบริการในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด
ยุดแรกและยุคที่สองของการสร้างหรือเขียน Blog นั้นไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของ ตุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และธุรกิจ (Enterprise Based) เป็นการแบ่งปันเรื่องราวและวิธีการมากกว่าซึ่งยุคที่สามนั้นกลับเปลี่ยนการแบ่งปันเป็นการ โฟกัส ผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ตรง “ปัญหา” ของผู้ใช้บริการ การเขียน Blog จึงเป็นการเขียนขั้นตอนและนำเสนอ Feature คุณลักษณะพิเศษที่สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการ
กฏ(ไม่)เหล็กของ Blogger ที่จะทำ Blog ในโลกธุรกิจวันนี้
สำรวจตลาด และกลุ่มเป้าหมายโดยการแทรกซึมเป็นผู้อ่าน วิ่งเข้าไปอ่าน Blog ในแขนงหรือศาสตร์ที่ใกล้เคียงธุรกิจของท่าน เพื่อเข้าใจและรวบรวมคำถาม และ ปัญหาที่เหล่า Blogger เหล่านั้นนำเสนอออกมาหลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์ ความท้าทายที่สุดคงจะเป็นส่วนนี้ ส่วนที่ต้องวิเคราะหและตีโจทย์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้แตก เพราะ กลุ่มที่กำลังทำแบบเดียวกันที่เป็นคู่แข่งนั้นจะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างตามสายงานธุรกิจที่วิเคราะห์พึงคิดไว้ว่า ตลาดในโลกปัจจุบันล้วนมีการแข่งขันความเสี่ยงที่สุดไม่ใช่การวิเคราะห์ตลาดที่ผิดเป้าหมาย แต่เป็นเวลาในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่มีในมือ
ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้วให้รีบลงมือ เขียน Blog ในการ Buzz ธุรกิจทันที โดยดารเขียน Blog อาจจะเริ่มจากเขียนเอง หรือ ให้ Point (จุดขาย) ของสินค้าหรือบริการแล้วทำการกระจายผ่าน Blogger ท่านอื่นหรือลงทุนจ้างวานหรือ แนะนำให้เพื่อนและหุ้นส่วนเขียน Blog เพื่อกระจายเนื้อหา คำถามหนึ่งที่มักจะเกิดกับผู้เขียนว่าทำไมต้องกระจายเนือหาผ่าน Blog ?
ผู้เขียนยกตัวอย่างการวิเคราะห์หน้าเว็บไซต์หรือ Blog โดยเครื่องมือ Google Analytics จะเห็นว่าหากธุรกิจของคุณเป็น E-solution ที่ไม่ใช่ Content-Provider นั้น แผนภูมิของ Google analytics จะแสดงว่า เนื้อหาของคุณส่วนใหญ่นั้นมาจาก เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine ซึ่งต่างกับ Content Provider ที่ Traffic ของผู้เข้าชมนั้นมาจาก Referring Sites และ Direct Traffic การที่ผู้อ่านวิ่งเข้าสู่เนื้อหาของคุณ ผ่าน Search Engine นั้นก็เพราะการกระจาย Blog หลาย Blog ใน Internet ทำให้การค้นหลากหลายจากเว็บหรือ Blog ของ Blogger ที่มี Page Rank สูงนั้นแสดงผลเนื้อหาเกี่ยวกับบริการของคุณ (แสดงให้เห็นว่า Blogger ที่จะ Buzz ให้คุณใน blog นั้นต้องมีชื่อเสียงพอสมควร) เพราะ Blogger ที่มี Fan (ผู้ติดตามเยอะๆ) นั้นจะทำให้เนื้อหาของคุณที่อยู่ใน Blog ของบุคคลนั้นหาง่ายยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี Blog ที่ประสบความสำเร็จในที่สุดของ Blog
ถ้าพูดถึงเว็บไซต์สำเร็จรูปนั้น ต้องพูดถึง Joomla ซึ่งเป็นระบบจัดการบทความบนเว็บไซต์ Content Managment System ที่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าหากพูดในแง่ของ Blog นั้น WordPress คือความสำเร็จเพราะกลุ่ม Blogger ที่เขียน blog เป็นประจำนั้น 70% ส่วนใหญ่จะใช้ wordpress เป้นหลัก และเราสามารถลงทุนในการสร้าง blogger จำเป็นเขียนบทความ Buzz ให้เราได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้บริการอะไร หากมีแค่ hosting และ Domain Name ที่เยอะ WordPress สามารถติดตั้งได้ง่ายเพียงไม่กี่นาที และการใช้งานนั้นในระดับของ User หรือผู้ใช้งานธรรมดา ที่ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีอะไรนั้นสามารถศึกษาและเขียนได้อย่างง่ายดาย
ปัจจุบัน วิวัฒนการของ Blog แม้จะเข้าสู่ยุคที่สามแล้ว Social Network ก็เปลี่ยนแปลงไปในส่วนของตัว Social Network เช่นกันจากการเขียน Blog แล้วยังสามารถพบ Blog ในหน้าเนื้อหานั้นๆเข้าไปเผยแพร่ผ่าน Social Bookmark อย่าง Digg หรือ Social Media อย่าง Twitter, Facebook, Google Buzz ได้เช่นกัน ซึ่งเครื่องมือใหม่ล่าสุดอย่าง foursquare นั้นก็สามารถ Buzz ได้โดยเล่นเป็นกิจกรรมกับผู้อ่านผ่าน Blog และ social Network ดังภาพประกอบ การวิ่งตามหา ตราหรือ โลโก้สินค้า ในสถานที่ที่เลยเดินทางและ check-in ผ่าน Foursquare สมารถสร้างความสนุกร่วมและความน่าสนใจแก่ Branding และสินค้านั้นๆ
แนวทางการใช้แนวคิดของวิวัฒนาการยุคที่สามของ Blog นอกจากจะมีข้อดีกับเหล่า ผู้อ่านและผู้ติดตาม Blog แล้วในแง่ผู้ให้บริการ สามารถทำให้ทราบว่าเทคโนดลยีของบริการและผลิตภัณพ์ของผู้ให้บริการควรจะมีการปรับปรุงเปลียนแปลงในส่วนใด ทำให้ทราบถึงจุดบกพร่องจากการอ่าน Blog ของผู้ที่พบปัญหาจากบริการที่ทำ สามารถทำให้เพิ่มศักยภาพของบริการและผลิต๓ณฑ์และทราบถึงผลตอบแทนการลงทุนหรือ ROI (Return on investment)