Future

แกะเปลือก Augmented Reality เพื่อเตรียมพร้อม

ถ้าพูดถึงนวัตกรรมใหม่ในปี 2010 ก็คงไม่พลาดที่ จะพูดถึง Augmented Reality หรือตัวย่อที่คุ้นตาว่า AR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่สุดด้าน Interactive ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ เพราะข้อดีของ AR คือ สามารถนำเสนอแคมเปญดิจิตอลในรูปแบบที่หลากหลาย สร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้บริโภค
Augmented Reality

GPS, Compass, Motion Detection หรือ Motion Censor ที่กล่าวมาข้างต้น คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการทำงานเสมือนจริงที่เรียกว่า Virtual หากเราตัดส่วนของ GPS และ Compass ไปแล้ว จะเหลือเพียง Motion Detection หรือ Motion Censor ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีมานาน และมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่ามันคือแนวคิดแรกเริ่มของ AR

การคิดกระบวนการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Webcam นั้นเป็นแคมเปญที่พบเห็นใน Online Game และเว็บไซต์ E-Commerce หลากหลายเจ้า แต่เป็นเพียงการตอบสนอง ปฏิสัมพันธ์การเคลื่อนไหวผ่านเทคโนโลยี Flash บนเว็บไซต์

จากที่เคยศึกษามา เว็บฯ ขายเสื้อผ้ต่างชาติได้ทำหน้าต่าง Flash Animation ที่มีการเชื่อมต่อ Webcam และเมื่อผู้ใช้ บริการกดตอบรับ Webcam แล้ว จะมี GUI (Graphic User Interface) ปรากฏขึ้นผ่านหน้าจอที่เป็นกล้องสะท้อน เมื่อผู้ใช้บริการยืนตรงตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว สามารถที่จะเอามือหรือเคลื่อนไหวไปถูก Interface ของกราฟิกรูปเสื้อผ้าเพื่อทำการเปลี่ยนชุด โดยชุดที่เลือกนั้นจะมาทับตำแหน่งของผู้บริการพอดี เพื่อทดสอบว่าเหมาะสมกับรูปร่างของผู้ใช้บริการหรือไม่
แนวคิดหลักของเทคนิค AR นั้นคือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์ อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์บน บน Monitor บน Projector หรือบนอุปกรณ์ แสดงผลอื่นๆ

โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็น ภาพนิ่งสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มี เสียงประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด

พื้นฐานหลักของ AR ที่ยอดเยี่ยม หรือเป็น Perfect Solution นั้นจำเป็นที่ต้องรวบรวมหลักการของ Motion Detection, Beat Detection และ Voice Recognize and Image Processing นอก จากการจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการจับ Voice ของผู้ใช้บริการและประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อเกิดจังหวะการสร้างทางเลือกให้แก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำอะไรต่อไป
การสั่งการด้วยเสียงจัดว่าเป็น AR เช่นกัน และในส่วนของ Image Processing นั้น เป็นส่วนเสริมจากงานวิจัยของต่างประเทศซึ่งเป็นส่วนย่อยของ AR เพราะเน้นไปที่การทำงานทางเลือกของ AI (Artificial Intelligent) หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่านสีและรูปภาพ ไปจนถึงเม็ดสีของใบหน้าและอารมณ์ เช่น ตรวจสอบว่าสีไหนอยู่ในหมวดสีแดง

AI ก็จะเข้ากระบวนการ Image Processing เพื่อจับค่าสี ที่เป็นกลุ่มใหญ่และแสดงอารมณ์ของผู้ใช้บริการว่าภาพหรือ สีที่จับบนใบหน้านั้นคือ อารมณ์โกรธ
ไม่นานมานี้ ทางบริษัทเครื่องสำอางชิเซโด้ (Shiseido) เอาใจสาวรุ่นใหม่อยากสวยด้วยกระจกดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยี AR เพื่อสะท้อนและจำลองการทดสอบแต่งหน้าว่าเหมาะกับ ผู้ทดสอบหรือไม่ กระจกดิจิตอลเป็นอีกกรณีที่เห็นได้ชัดเช่นเดียวกับ Campaign QR Code ของโออิชิที่เล่นผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีและน่าสนใจ สำหรับการสร้างโฆษณาแบบตอบสนองปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้บริโภค

Augmented Reality

Augmented Reality

กระบวนการของ AR สำหรับผู้สนใจพัฒนา ที่ควรจะต้องทราบขั้นตอนการเลือกใช้เทคนิคเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์นั้น มีหลากหลายเทคนิค และสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งพา ทีมพัฒนาที่มากมาย สำหรับผู้ที่มีไอเดียหรือผู้เริ่มต้น ต้องรู้ว่ากระบวนการของการทำงานของ Augmented Reality ในส่วนของ Motion Detection นั้นมีอะไรบ้าง แค่รู้หลักของการ Detect Webcam และหลักการลำดับขั้นตอนการทำงานของ Motion Detection เพียงเบื้องต้น ก็สามารถพัฒนาต่อยอด Interactive Application ได้ทันที เพียงค้นคว้าหัวข้อเกี่ยวกับเทคนิคต่อไปนี้

• Block Matching Algorithm
• Edge Detection and Tracking

เพียงเทคนิคสองตัวที่พูดมาก็สามารถพัฒนา Application ในรูปแบบ AR ได้ สำหรับตัวอย่างการทำงานที่สามารถทำได้เบื้องต้นนั้น ทางผู้เขียนได้ติดตั้งและให้ทดสอบการทำงาน โดยสามารถเข้าไปทดสอบได้ที่เว็บไซต์ของผู้เขียน

Augmented Reality

www.daydev.com/programming-language/action-script/76-daydev-lab-flash-motion-detect-interactive.html

นอกจากนี้ ความคิดที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้หากคุณ เล่นแคมเปญโฆษณาสินค้า คุณจ้างให้คนไปติดสัญลักษณ์ หรือแผงเซลล์ไมโครชิปตามตึกสำคัญ แล้วให้ลูกค้าของคุณ เอาโทรศัพท์สแกนภาพตึกที่ติดแผงนั้นไว้ ก็จะพบตัวอักษรหรือรหัสในการแลกโปรโมชั่นของคุณได้

ARToolKit

โลกเสมือนจริงและการจำลองผ่านอินเทอร์เน็ตคงไม่ยาก ไปกว่านี้ เช่นเดียวกันในสมาร์ทโฟน หากเราจินตนาการว่า คุณอยู่เขตหนึ่งของกทม. แล้วต้องการทราบว่าเป็นที่ไหน ให้คุณถ่ายภาพตึกหรือบริเวณนั้น โทรศัพท์จะจำลองประมวลผลเป็นแผนที่ Ovi Maps พร้อมทั้งบอกสถานที่ใกล้เคียงที่สำคัญให้คุณ ตัวอย่างของบริการบนมือถือที่ทำงานคล้ายคลึงกับระบบ AR ได้แก่ Layar (www.layar.com) ที่ติดตั้งลงบน iPhone

ดังที่กล่าวมา เทรนด์ AR นั้นค่อนข้างเยี่ยม แต่ต้องรอดูว่า จะมีคนที่พัฒนาระบบใหม่ๆ ธุรกิจใหม่ๆ ได้หรือเปล่า

Ecommerce Magazine

ตีพิมพ์ในนิตยสาร Ecommerce Magazine
April No.136

บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ต จำกัด
42/38 ซอย โชคชัยร่วมมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

0-2691-4126-30 ext 322
0-2691-5826

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน