Information system

Business Software สำหรับการจัดการสารสนเทศในองค์กร

คำว่า Business Software คือ โปรแกรมใช้ในการบริหารจัดการสารสนเทศขององค์กร โดยจะเป็นตัวเสริมความคล่องตัวในการนำเสนอข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่ง โดยหลักการจะถูกแยกประเภทตัวอย่าง ได้ดังต่อไปนี้

Business Software สำหรับการจัดการสารสนเทศในองค์กร

Software หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Programming Languages คอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาเครื่อง แต่หากจะให้คนเข้าใจภาษาเครื่องที่มีแต่ 0 กับ 1 นั้นคงเป็นไปได้ยาก ทำให้มีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ (Syntax) ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย (C++, Java, Basic, Prolog, Etc.) บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการ

Application Software : ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้  ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออกแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ  แล้วทำการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่  ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี  ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น

Business Software สำหรับการจัดการสารสนเทศในองค์กร

System Software : ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

Proprietary vs. Open Source Software : วิเคราะห์โดยแยกส่วน ทั้งสองออกมาเพื่อเปรียบเทียบกัน ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ หรือ Proprietary คือ ซอฟต์แวร์ ที่สิทธิ์ในการใช้งานและทำซ้ำถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งานหรือทำซ้ำได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ Proprietary Software อาจไม่ได้เป็น ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เสมอไป, แต่โดยมากแล้วเจ้าของซอฟต์แวร์มักจะใช้กลไกของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสงวนสิทธิ์ของตนเองไว้, ทำให้ซอฟต์แวร์กลายเป็น Proprietary Software. ตัวอย่างของ proprietary software ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ Microsoft Windows, Microsoft Office หรือ Software ตระกูล Abobe เป็นต้น

Open Source Software คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟท์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและ เผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (Source Code) ได้ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย ตัวอย่างมากมายที่เห็นได้เยอะคือ Linux Ubuntu, Joomla, Mambo, Open office เป็นต้น

Business Software สำหรับการจัดการสารสนเทศในองค์กร

Considerations in Purchasing Software

ปัจจัยในการตัดสินใจ เลือกซื้อ Software สามารถเขียนเป็นตารางประเมินเป็นข้อมูลให้เลือกตัดสินใจซื้อได้ จาก คุณสมบัติ ดังนี้

  • Reliability – ความน่าเชื่อถือ
  • Technical Support – มีบริการช่วยเหลือ และ แก้ปัญหาด้านเทคนิค
  • Ease of Use – ใช้งานง่าย ดูฟังก์ชั่นตามลักษณะของงาน
  • Performance – ประสิทธิภาพ
  • Installation – การติดตั้งที่ไม่ซับซ้อนและยากเกินไป
  • Networking – สนับสนุน ระบบเครือข่าย
  • Tool & Utilities – มีเครื่องมือ และ ยูทิลิตี้ ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
  • Spreadsheet Editing – สำหรับ บางชนิดมีการแก้ไข Spreadsheet
  • Programming – ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
  • Formulars & Analysis – มีฟังก์ชั่น ในด้านการคำนวณเสร็จสรรพ และ แสดงผลให้วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำ
  • Charting & Graphics – รายงานผลลัพธ์ มีการแสดงผลเป็นแผนภูมิรูปภาพ
  • Compatibility – ความเข้ากันได้ ทั้ง ตัวระบบเดิม ผู้ใช้ และ ระบบปฏิบัติการที่ใช้

เมื่อได้ทำการประเมิน จากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว สามารถ วิเคราะห์ ให้คะแนนรวม ผ่าน Over All Rating สำหรับส่ง    เรื่องให้ องค์กรสามารถ สั่งซื้อ Software ดังกล่าวได้

Business Software สำหรับการจัดการสารสนเทศในองค์กร

เพิ่มเติม:
ภาษาโปรแกรม มีอยู่ 5 ยุค

Low-level languages

1st Generation Language Machine language :

เป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงไม่ค่อยมีการใช้ภาษาเครื่องโดยตรง

2nd Generation Language  Assembly language :

ซึ่งเป็นการปรับภาษาเครื่องให้สามารถเขียนได้สะดวกขึ้นโดยการพิมพ์คำสั่งที่เป็นตัวอักษรแทนตัวเลข เวลาเขียนเสร็จ จะต้องใช้ตัวแปลโปรแกรมจึง จะใช้งานได้ และถึงแม้ว่าไม่ใช้ภาษาเครื่องโดยตรง ผู้เขียนโปรแกรมยังจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของไมโครโพรเซสเซอร์ที่กำลัง เขียนเป็นอย่างดี

High-level languages

ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายใน ของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา

3rd Generation Language (High level language):
FORTRAN, COBOL, C, PASCAL, Basic :

4th Generation Language (Very high levellanguage):
SQL, RPG II

5th Generation Language (Natural language):
AI

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน