การประมวลผลจัดการข้อมูลด้วย Grid Computing ได้รับความนิยมในช่วงตอนต้นของทศวรรตที่ผ่านมา โดยบริษัท Sun Microsystems ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งบริษัท Sun Microsystems ได้เปิดตัวแพล็ตฟอร์มสำหรับบริหารข้อมูลในองค์กร ที่เรียกว่า Enterprise Grid Platform สำหรับรองรับการทำงานในภาคธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบัน Grid Computing ยังคงได้รับความนิยมในบางองค์กร แต่ก็เริ่มมีรูปแบบเทคโนโลยีที่เหนือชั้นกว่าอย่าง Cloud Computing ออกมาเป็นข้อเปรียบเทียบและทางเลือกให้องค์กรต่างๆที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการจัดสรรทรัพยากรและข้อมูลให้เลือกใช้และตัดสินใจ แม้ว่า ทั้งเทคโนโลยีของ Grid และ Cloud จะเป็นเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมระบบที่เหมือนกัน แต่ก็ยังมีบางส่วนสำคัญของแต่ละชนิดที่ยังชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่าง เทคโนโลยีทั้ง 2 ตัวนี้
ข้อแตกต่างใหญ่ๆที่สามารถชี้วัดได้ชัดคือ Grid Computing ของ Sun Microsystems นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลการทำงานของแอพพลิเคชั่นประเภท batch mode มีการทำงานเป็นแบบ batch system ที่มีขนาดใหญ่มาก แอพพลิเคชั่นสามารถส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลเข้าไปประมวลผลแบบแบ่งย่อยผ่าน Grid Computing หลังจากที่ประมวลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยก็จะแสดงผลลัพธ์คืนกลับมาสู่หน้าจอของแอพพลิเคชั่น ในทางตรงกันข้ามสำหรับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ หรือ Cloud Computing จะไม่ได้เป็นการทำงานแบบ batch system ที่สำคัญพื้นฐานด้านเทคโนโลยีโดยเดิมของ Cloud Computing จะมาแอพพลิเคชั่นทประเภท เว็บแอพพิลเคชั่น (Web Application) ซึ่งเน้นพื้นที่ในการพักข้อมูลในช่วงที่เกิดการส่งข้อมูลระหว่าง Data Center และ Server Farms ซึ่งหากนึกไม่ออกว่าเทคโนโยลีทางด้านเว็บแอพพลิเคชั่นที่มีฐานข้อมูลและการประมวลผลปริมาณมากโดยใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วแบบนี้หาได้ที่ไหน ผู้เขียนแนะนำให้ลองศึกษาระบบบริการและศึกษาส่วนของ Infrastructure บนเว็บไซต์ Amazon
แม้หลักการของ Infrastructue ของ Cloud Computing และ Grid Computing นั้นจะมีสิ่งที่คล้ายกัน และ ทำในสิ่งเดียวกัน แต่ต้องยอมรับว่า Cloud Computing น่าจะได้เปรียบสำหรับ หลายองค์กรในปัจจุบัน เพราะ ในเวลานี้มีอยู่น้อยองค์กรที่จะ ใช้งาน Infrastructure ในแบบ Physical ภายใน เพราะส่วนใหญ่ หลากหลายองค์กรเริ่มหันมาพัฒนารูปแบบธุรกิจ และ บริการผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ท และ เว็บ โดยใช้เครือข่ายออนไลน์ในการรับ-ส่งข้อมูลเป็นหลัก ทำให้ Cloud Computing ตอบโจทย์ในสิ่งที่ต้องการในปัจจุบันมากกว่า Grid Computing
นั่นคือจุดเริ่มของโครงการพิเศษของทาง CISCO โดย CISCO ได้ส่งเจ้า Unified Computing System หรือ UCS ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2010 โดยมุ่งเน้นเป้าหมายเป็นกลุ่มองค์กรที่ใช้บริการเพื่อจะตอบโจทย์ในการเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูง และ จำเป็นที่จะลดความซับซ้อนของขั้นตอนในการประมวลผล และการทำงาน ในงบประมาณต้นทุนที่ไม่สูง
Unified Computing System หรือ UCS เป็นแนวคิดในการนำแพลตฟอร์มหลักของเทคโนโลยี 3 แพลตฟอร์ม ประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับประมวลผลผ่านระบบเครือข่าย (Computing Device) ระบบการจัดเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในการจัดสรรทรัพยากร (Storage) สำหรับ UCS ถือว่าเป็นการลดต้นทุนทางด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร นอกจากนี้ยังช่วยลดความซับซ้อนและการใช้พลังงาน โดย UCS นี้สามารถลดเวลาในการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่น รวมทั้งยังทดแทนพลังงานในด้านอื่น ที่สำคัญ UCS นั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้แทนกับ Product เดิมที่มีอยู่ แต่สามารถต่อยอด สำหรับผู้ใช้บริการในองค์กรต่างๆ ที่ประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของ Data Center ที่รูปแบบ Data Center รูปแบบเดิมอาจจะมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย-ถึงมาก ในการจัดสรรเวลาในการบริหารจัดการ และประเมิน งบระมาณต้นทุนสำหรับดำเนินงานที่ในบางวันอาจจะ สูงขึ้น หรือบางวันก็จะ เตื้ยลง หากต้องการติดตั้งระบบ หรือ เพิ่มพัฒนาแก้ไขเพิ่มเติมจาก Data Center ในรูปแบบเดิม เทคโนโลยีรูปแบบใหม่อย่าง Cloud Compuitng จะทำให้เกิดความประหยัดขึ้น และ งบประมาณสำหรับการจัดการนั้นต่ำลง