เหตุการณ์ต่อไปนี้เคยเกิดขึ้นกับคุณบ้างหรือเปล่า? คุณมีธุรกิจส่วนตัวที่กำลังสร้างชื่อ หรือ แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก คุณรู้ดีเสมอว่าสินค้าและบริการ บางอย่างในร้านของคุณมีเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นกว่าร้านค้าคู่แข่ง ไม่ว่าจะในเขตพื้นที่เดียวกัน หรือ ต่างถิ่นต่างสถานที่ซึ่งแน่นอนว่าคุณทราบตัวคุณดีว่า มีของดี อยู่ในมือ แต่ปัญหาที่มักจะพบคือ จะทำยังไงจะ ขายและสร้างกำไรให้มากกว่าเดิมได้?
หากเป็นช่วงก่อนหน้านี้ ธุรกิจของคุณอาจจะมีเว็บไซต์ ที่นำเสนอ บริการและสินค้า ของคุณสำหรับตอบคำถามและ รับความคิดเห็น จากกลุ่มผู้บริโภคที่ถือว่าเป็นผู้ติดตาม บริการ ของคุณอย่างเหนียวแน่น หรือลูกค้าชั้นดี ยุคสมัย เทคโนโลยี และ พฤติกรรม การใช้สื่อของคนเปลี่ยนไป ปัจจุบัน มีเครื่องมือและเว็บไซต์จำพวก เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network มากมายปรากฏขึ้น การโฆษณาชวนเชื่อ เริ่มถูกลดความสำคัญลง การแนะนำบอกต่อ จากเพื่อน หรือ คนรู้จักของเราแนะนำ สินค้าและ บริการ มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 1: Social Network
เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาด อย่าง Twitter หรือ Facebook โดยเฉพาะ Facebook แล้วคงต้องยกให้เป็นอาวุธลับสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ของเหล่า นักการตลาดออนไลน์ เครื่องมือที่น่าจะตอบโจทย์การสร้าง ความเป็นเอกภาพของแบรนด์สินค้าบริการให้เป็นที่น่าจดจำ หรือ Brand Awareness ได้ดีที่สุดสำหรับการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ก็คงหนีไม่พ้นการสร้างหน้า Fan Page เพื่อเป็นเหมือนกระดานตอบรับความคิดเห็น ของลูกค้าชั้นดีของเรา ไปจนถึงการสร้าง เนื้อหาใหม่ เพื่อชักนำ สมาชิกในเครือข่าย ที่สนใจพากันเข้ามาเป็น ลูกค้าใหม่ โดยมีการสร้างแคมเปญ อย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ทั้งตัวบริการของเรา และ ลูกค้าที่เข้ามารับข้อมูลข่าวสาร การสร้าง Fan Page ของบริการสินค้าให้เกิด Brand Awareness สำหรับนักการตลาดออนไลน์มือใหม่บางคน หรือ ผู้สนใจที่ต้องการจะเริ่มต้นบางคน มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า
“แล้วจะใช้ Facebook Fan Page มาทำการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ หรือ ทำให้ชื่อแบรนด์ของเรานั้น ให้ได้รับความนิยม ได้ยังไง"
สิ่งแรกสำหรับผู้เริ่มต้น และ นักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ ต้องทราบ และ ทำความเข้าใจกันก่อนก็คือ
“ทำไมต้องสร้าง Fan Page บนเว็บไซต์ Facebook”
ก็เพราะว่าทุกธุรกิจในทุกวันนี้ หลายบริการ ตั้งแต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียง ไปจนถึงธุรกิจขนาดย่อม ได้ใช้ช่องทางการสร้าง Facebook Fan Pageขึ้นมาเป็นการรวบรวมฐานสมาชิก หรือ ฐานข้อมูลลูกค้าใน เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network อย่าง Facebook กันมากขึ้นโดยใช้การสร้าง Fan Page ซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่ในเวอร์ชั่นล่าสุด มีการวิเคราะห์ สถิติ ให้เห็นถึง Traffic ในการเข้าถึงเนื้อหาชัดเจนผ่านหน้า Fan Page ได้ทันที และ นักการตลาดออนไลน์สามารถที่จะนำข้อมูลสถิติ ดังกล่าวไปอ้างอิง เพื่อสร้างแคมเปญโปรโมชั่นใหม่ เพื่อดูแลลูกค้า และ เรียกลูกค้าใหม่เข้ามาเป็นสมาชิกได้โดยสะดวก สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันถึงกลยุทธ์ของการทำ Fan Page ผ่านเว็บไซต์ Facebook คืออัตราความเติบโตและดัชนีชี้วัดการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจมากมายหลากหลายประเภท ที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรอยต่อของแต่ละปีแล้ว ช่วงที่มี การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ จะเป็น สถิติที่เห็นชัดถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประเด็นที่สามารถมองเห็นได้ชัดที่สุดคือ เราสามารถค้นหาชื่อแบรนด์ หรือ เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าบริการ ที่ได้ใช้กลยุทธ์ผ่าน Facebook Fan Page บนเครื่องมือค้นหาอย่าง Google หรือเครื่องมือค้นหาตัวอื่น เช่น Bing, Yahoo จะพบว่า คำสำคัญในการค้นหา ที่เป็นชื่อแบรนด์และ บริการของเรา มีการติดอันดับในผลลัพธ์การค้นหาทันที เพราะ Facebook Fan Page อาศัยการบอกต่อแนะนำ จากหน้า Fan Page ของเราไปสู่ เพื่อนสนิท คนรู้จัก และ กระจาย ระหว่างเพื่อนของเพื่อน ครอบคลุมกว้างออกไปหลายเครือข่าย กลายเป็น Viral Marketing หรือ แพร่ขยายแบบติดเชื้อ Virus นั่นเอง
เครื่องมือบนเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกตัว ที่มีความสำคัญก็คือ Twitter หากมีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook Fan Page แล้วก็ไม่ควรที่จะพลาดการใช้งาน Twitter สำหรับ รับฟังข้อเสนอแนะสำหรับแบรนด์ ของบริการ และ สินค้า ที่เราทำอยู่ ประเด็นของการขยาย และ แพร่หลาย ของข่าวประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าบริการของเรา ผ่าน fan Page บน Facebook ถือว่าเป็นการบอกต่อ ที่มีผลสำเร็จที่สูงสุดในเครือข่าย ของเราเอง พูดขยายความก็คือ Fan Page เหมาะสำหรับการดูแลลูกค้าเดิม การสร้างแคมเปญ เพื่อรักษาฐานข้อมูลลูกค้า แต่ Twitter นั้นไม่ใช่
สำหรับ Micro blog ชื่อดังอย่าง Twitter นั้นเหมาะแก่การ สร้างฐานข้อมูลลูกค้าใหม่ เพราะข้อความที่ถูกส่งออกไป หรือที่เรารู้จักกันดีว่า Tweet (ทวีต) นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคน สามารถพบเห็นได้ โดยทั่วไป (Public) ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกเครือข่ายใด เครือข่ายหนึ่ง เลยทั้งสิ้น เพียงแค่มีบัญชีของ Twitter เท่านั้น บน Twitter สิ่งหนึ่งที่จะสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ที่เราสร้างอยู่ได้ดี คือ เนื้อหา ที่เราจะ Tweet ออกไป ซึ่งเสน่ห์ที่มีเพียงจำกัดแค่ 140 ตัวอักษรเป็นเหมือนเกมที่ท้าทาย นักการตลาดออนไลน์ ที่จะต้องโปรยประโยคแบบใดที่จะสร้างความน่าสนใจแก่ ผู้ที่ติดตาม (Follower) ของเรา และ โดนใจผู้ใช้ Twitter รายใหม่ที่เห็น Tweet ดังกล่าวของเรา หลังจากนั้นจึงค่อยเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลลูกค้าเข้ามาอยู่บน Facebook และ แปลงรายชื่อ อีเมล รายละเอียดต่างๆ ใน Contact มาเก็บไว้เป็นข้อมูลดิบต่อไป ที่สำคัญ Twitter จะได้เปรียบในเรื่องของ แนวโน้ม ที่ได้รับความนิยมอย่าง Topic Trend ผ่านเครื่องหมาย Hash Tag (#) ตามด้วย คำสำคัญที่ทุกคนร่วมกัน tweet เป็นอีกเครื่องมือในการรับฟังถึง เรื่องราวที่ กลุ่มคนหลายๆกลุ่มกำลังสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ นักการตลาดออนไลน์ สามารถ สร้างแคมเปญที่ทันสมัย และ ตรงตามแนวโน้ม ที่สังคมกำลังนิยมกันอย่างเป็นปัจจุบัน
ถึงแม้ Twitter จะเป็นเหมือน เครือข่ายสังคมตัวหนึ่งที่สามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ง่ายก็ตาม แต่จริงๆแล้ว Twitter เป็นเครื่องมือในการ แนะนำ และ ดูแลบริการหลังการขายของเราได้ด้วยเช่นกัน กรณีนี้ทาง Microsoft ได้ลดต้นทุนในส่วนของ Help Center Service ขององค์กร เกี่ยวกับเครื่องเกมคอนโซล XBOX โดยเปลี่ยนการดูแลลูกค้า ผ่าน Forum, Help Center หรือ Call Center มาเป็น การใช้ Twitter ทำการ Re Tweet ตอบปัญหาลูกค้าที่ซื้อเครื่อง คอนโซล XBOX ไปพร้อมทั้งแนะนำ เทคนิค ใหม่สำหรับลูกค้าที่ซื้อเครื่อง XBOX ผ่านบัญชีผู้ใช้งาน Twitter ที่ชื่อว่า @Xboxsupport ซึ่งในตลาดต่างประเทศสำหรับ XBOX นั้นวิธีดังกล่าว สร้างความน่าพึงพอใจ และ ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ทาง Microsoft XBOX ได้สูงถึง 58ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กลยุทธ์ที่ 2: Location Based Service
การสร้างแบรนด์ธุรกิจ ในเรื่องของ บริการ และ สินค้า ให้เป็นที่รู้จักผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และมีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้น ยิ่งปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคสื่อของ ผู้ใช้นั้นเริ่มมีแนวโน้มที่จะใช้ สมาร์ทโฟนในการติดต่อสื่อสารและรับ ข่าวสารบริการ เช่นโปรโมชั่น มากมายผ่าน เครือข่าย อินเตอร์เน็ท ที่วิ่งเข้ามาที่อุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนได้โดยตรง และที่สำคัญ แนวโน้มใหม่กำลังมาแรง และ มีประโยชน์ต่อการทำการตลาดภายในท้องถิ่น หรือ แหล่งธุรกิจ โดยยึดหลักของการใช้ GPS (Global Position Service) ผ่านสมาร์ทโฟน มาผสมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network อย่างที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ก็น่าจะเป็นการ “Check-in” สถานที่ต่างๆ และ หลายๆคนคงรู้จักกันมาแล้วอย่าง foursquare ที่ถือว่าเป็น Social Network Game ประเภทหนึ่ง ที่นอกจะสร้างความบันเทิงในการได้รับ ป้าย รางวัล (Badge) แล้ว นักการตลาดยังสามารถประยุกต์ การทำงาน และ เงื่อนไขดังกล่าว มาผลักดันให้เกิดเป็นมูลค่า และ ลูกเล่นบริการใหม่ แก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือ การประชาสัมพันธ์ให้แก่สถานที่ สินค้า หรือ ตัวบุคคล
Starbucks เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการนำเงื่อนไขการ check-in เข้ามาเล่นกับบริการ โดยกำหนดว่าใครที่ได้เป็น Mayor (เจ้าถิ่น) จะได้รับส่วนลดทันที แน่นอนว่าผู้ได้รับประโยชน์เต็มๆ คือเจ้าประจำที่ซื้อกาแฟที่ Starbucks บ่อยที่สุด และ เกิดการแข่งขันของ ผู้บริโภคเองที่ต้องการจะรับสิทธิดังกล่าว ทำการแย่งเป็น Mayor สร้างความบันเทิง และ ความน่าจดจำของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญผู้ประกอบการเองสามารถลงทะเบียนให้กับตำแหน่งสถานที่ของตัวเอง เพียงแค่ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับบริการและสินค้าของธุรกิจตัวเอง จะสามารถช่วยกระตุ้นการบอกต่อ และ แนะนำจากคำติชมของ Mayor สถานที่นั้นๆ ความนิยมของลักษณะการทำการตลาดประเภทนี้เริ่มมีมากขึ้น เพราะมีการคาดการณ์ไว้ถึงปี 2014 ที่นักวิเคราะห์ได้ คาดการณ์ยอดขายของสมาร์ทโฟนที่มีระบบ GPS นั้นมีแนวโน้ม 60% ของโทรศัพท์มือถือที่ขายได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการอย่างคุณ จำเป็นต้องเปลี่ยนและหันมาพึ่งพิงการตลาดรูปแบบใหม่ นี้กันโดยเร็ว
กลยุทธ์ที่ 3: สร้าง Brand Awareness ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality
หากมองถึงแนวโน้มความนิยมในสื่อออนไลน์ในปัจจุบันที่ในช่วงปี 2010 หลายคนอาจจะได้เห็นคำว่าเทคโนโลยี AR ที่ย่อมาจาก Augmented Reality ซึ่งถือว่าเป็นสื่อในยุคใหม่รูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากหลายประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ธุรกิจและสายที่จะต้องรู้จักเทคโนโลยี AR นี้ส่วนใหญ่คงจะหนีไม่พ้น โปรดักชั่นเฮาส์ เอเจนซี่ และ แวดวงนักการตลาดออนไลน์ และก็เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงได้เคยเทคโนโลยี AR ไปแล้วโดยไม่รู้ตัว
ในปัจจุบันได้มีการ ประยุกต์แนวคิดของเทคโนโลยี AR มาเพิ่มเป็นลูกเล่นเสริม ซึ่งรูปแบบของเทคโนโลยี AR นั้นมีการแสดงผลหลากหลายวิธีการ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมที่สุด และ เห็นได้จาก กรณีศึกษาในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย คือการใช้ ภาพสัญลักษณ์ หรือในทางศัพท์เทคนิคจะเรียกกันว่า “Marker” มาสะท้อนผ่านหน้ากล้อง Web Cam เมื่อกล้องจับภาพสัญลักษณ์ ได้แล้วตัวโปรแกรมที่ทางเจ้าของเว็บไซต์ได้พัฒนาร่วมกับเทคโนโลยี AR ก็จะแสดงผลภาพกราฟิกปรากฏขึ้นมาบนพื้นที่สัญลักษณ์ ที่สะท้อนอยู่ในกล้องผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์
แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ ผู้บริโภค สามารถจดจำแบรนด์สินค้าของเรา หรือ นึกถึงแบรนด์สินค้าเราได้ทันทีเมื่อเห็น สัญลักษณ์ หรือ ประเภทสินค้าที่ใกล้เคียง ถือว่าเป็นภาระที่หนักมากที่สุดของนักการตลาด และ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่เมื่อมีการโปรโมตสินค้าใหม่ทั้งที จำเป็นต้องคิดแล้วคิดอีก ว่าควรจะทำยังไงจึงจะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคให้เป็นที่น่าพอใจ หรือ แม้กระทั่งจะโปรโมตแบรนด์สินค้า และ บริการที่มีอยู่เดิมให้เป็นที่น่าจดจำมากขึ้น และ พร้อมที่วิ่งแซงหน้าคู่แข่งในโลกของการแข่งขันด้านธุรกิจ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัว ทั้งเรื่อง งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการตลาด และ ปัจจัยอื่นจิปาถะแต่ก็ไม่เกินความสามารถที่นักการตลาดออนไลน์ รุ่นใหม่ หรือแม้กระทั่งตัวคุณเอง จะทำได้ ยังมีรูปแบบการนำเสนอโดยใช้ เทคโนโลยี AR เข้ามาสร้างภาพที่น่าจดจำให้แก่แบรนด์ของคุณ
รองเท้ากีฬาชื่อดังอย่าง Adidas ก็ไม่น้อยหน้าเมื่อ เจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ออกแบบ รองเท้า Adidas Original ขึ้นมาใหม่โดยพิมพ์สัญลักษณ์หรือ Marker แทรกเข้าไปบริเวณของลิ้นรองเท้า หรือ จะทำการดาวน์โหลดโมเดลกระดาษจากเว็บไซต์ของ Adidas เองเพื่อนำมาพับเป็นโมเดลกระดาษรองเท้า แล้ว เข้าไปเล่นบนเว็บไซต์ ที่กำลังจัดแคมเปญออนไลน์อยู่ เมื่อเรานำ สัญลักษณ์บริเวณลิ้นรองเท้า หรือ บนโมเดลกระดาษ ที่เราทำขึ้นไปส่องผ่าน Web Cam บนเว็บไซต์ของ Adidas ก็จะปรากฏ มินิเกม ให้เราเล่นในรูปแบบเทคโนโลยี PaperVision (เทคโนโลยี 3มิติ แบบโต้ตอบได้บนหน้าเว็บรูปแบบหนึ่ง) ซึ่งสามารถสร้างความบันเทิงผ่านเล่นมินิเกมให้แก่ ผู้ที่สนใจ และทาง Adidas เองสามารถนำแคมเปญที่จัดขึ้นนี้ มาเพิ่มฐานข้อมูลสมาชิก เพราะขั้นตอนก่อนที่จะนำ สัญลักษณ์ หรือ Marker ไปส่องผ่านหน้า Web Cam นั้น Adidas จำเป็นต้องบังคับให้ ผู้ที่สนใจจะเล่นแคมเปญเทคโนโลยี AR นี้กรอกรายละเอียด หรือ ลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ก่อน กรณีนี้ต้อยกนิ้วให้กับ Adidas ในเรื่องของเทคโนโลยีการโต้ตอบที่สมบูรณ์แบบ การประมวลผลที่รวดเร็วผ่านอินเตอร์เน็ท แนวคิดที่ชาญฉลาดในการสร้าง Brand Awareness และ ยังประยุกต์ใช้แคมเปญดังกล่าวในรองรับระบบจัดการลูกค้าภายในองค์กรหรือ CRM (Customer Relation Management) ได้อย่างลงตัว และ เป็นกรณีศึกษาประเภทหนึ่งสำหรับ สินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ อื่นๆ ที่คิดเพียงแค่ต้องการนำเทคโนโลยี AR มาใช้แสดงภาพกราฟิกเพียงอย่างเดียวบนเว็บไซต์ จนลืมเรื่องการทำ CRM ไป จำเป็นต้องหันมาพิจารณาขั้นตอนในการนำเสนอลูกเล่นและการลงทะเบียนเพิ่มเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบแคมเปญ
กลยุทธที่ 4 Social Commerce
เครือข่ายสังคมธุรกิจออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า E-Commerce โดย มีการนำสื่อหรือ Media บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Media และสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Viral Video และ Social Network Tool จำพวก Facebook, Twitter มาช่วยในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้หรือผู้ซื้อเพื่อช่วยในการขายสินค้าออนไลน์ ต่างๆ โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์ หากว่านึกภาพไม่ออกให้นึกถึง Group on หรือ บริการ ซื้อขายผ่าน Social Network สมัยใหม่ในประเทศไทย อย่าง Ensogo และ Sanook Coupon เป็นต้น ซึ่ง Social Commerce นี้จะสามารถชี้ให้เห็นถึง มุมมองบ่งชี้ ในเรื่องของแนวโน้มผู้บริโภคที่จะเป็นใหญ่ในการบริโภคสินค้า โดยเน้นการดึงกลุ่มคนที่มีความสนใจเหมือนกันเป็นกลุ่มที่มีแรงซื้อจำนวนมาก สามารถต่อรองได้ ถือว่าเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network อย่าง Facebook เข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ที่สนใจใน สินค้าและบริการ ลักษณะเดียวกัน เมื่อ กลุ่มคนจำนวนมากเกิดความสนใจในตัวสินค้าบริการเดียวกัน จะทำให้ผู้ที่สนใจในเงื่อนไข และ บริการกลุ่มนี้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า และ บริการนี้ เป็นโครงสร้างที่ต่อยอดแนวคิดของ Social Commerce ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ท หรือ E-Commerce รูปแบบเดิม แต่ใช้ช่องทางการกระจาย รายละเอียดของ สินค้า และ บริการ ผ่าน Social Network
กลยุทธ์ทั้ง4 ใช้ได้ผลจริงหรือ?
แม้จะเห็นว่าเครื่องมือในการใช้งาน ที่แตกต่างทั้งเป้าหมาย จะมีวิถีที่ต่างกัน แต่ถ้ามองภาพรวมโดยรวมทั้งหมดแล้วจะทราบว่า ทุกกลยุทธ์ล้วน ผูก บริการของคุณเข้าเป็นหนึ่ง และ ลงท้ายด้วยคำว่าบริการลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook Fan Page, Twitter, foursquare หรือ Location Based Services ใหม่ๆ ไปจนถึงเทคโนโลยี Augmented Reality ต่างล้วนมีฟังก์ชันหน้าที่การทำงานที่ตอบโจทย์แตกต่างกันไป จะเหลือก็เพียงแค่ การบูรณการความคิดผู้ประกอบการอย่างคุณ ให้เกิดเป็น สื่อใหม่ที่จะสร้างแบรนด์ธุรกิจให้เป็นที่น่าจดจำได้อย่างไร ก็คงต้องขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ และ จัดสรรเนื้อหาหรือข้อมูล (Content) ให้เกิดประโยชน์และตรงกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจึงต่อยอดนำเทคโนโลยีและเครื่องมือมาช่วยผลักดันให้ เป็นรูปเป็นร่าง วิธีการ และ ขั้นตอนที่น่าสนใจ กรณีศึกษาที่นำมาเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนคาดว่าจะสามารถช่วยจุดประกายความคิดของผู้ประกอบการ ให้เกิด บริการที่ดีและเป็นที่น่าจดจำในภาพลักษณ์และแบรนด์ต่อไป เหมือนประโยคที่ว่า “Content is a King” แต่ก็อย่าลืมว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเหมือนขุมทรัพย์ หรือ มหาสมุทรที่มีหีบสมบัติอยู่ในนั้น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนและ สร้าง Brand Awareness แก่ธุรกิจของคุณที่ดีที่สุดไม่ใช่ Facebook, Twitter, foursquare และ เทคโนโลยี AR
จงจำไว้ว่าเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือ “เพื่อน” ในเครือข่าย แม้จะมีกลยุทธ์ที่ดีแค่ไหน ก็อาจจะล้มเหลว หรือไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากไม่มี คน ที่กระจายเนื้อหาของบริการนั้นต่อไปเครือข่ายอื่น จงรักษาเพื่อนของคุณไว้ เพราะร้อยละ 60% ของแต่ละธุรกิจที่เริ่มสร้าง Brand Awareness ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากเพื่อนและคนใกล้ตัวในเครือข่ายนั่นเอง
“Content is a King” but “Conversation is a Queen”
บทความนี้ถูกตีพิมพ์ที่นิตยสาร E-Commerce Magazine