รายงานด้านวิจัยตลาด และพฤติกรรมของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนโดย Pew Internet ได้เผยว่าในสหรัฐฯ อเมริกา กลุ่มผู้ใช้งานฟังก์ชันระบุตำแหน่ง Location Based Service หรือ LBS นั้น 28% ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนทั้งหมด คือกลุ่มผู้ใหญ่ หรือกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ทุกวันจำเป็นต้องมีสมาร์ทโฟนติดตัว และทำงานและอ่านข่าวสารในระหว่างการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง ซึ่งในส่วนใหญ่จาก 28% ที่ทาง Pew Internet วิจัยมานั้นเป็นการใช้งาน Location Based Service ในการระบุเส้นทางเพื่อจดจำ และใช้เป็นจุดบอกพิกัด สำหรับระบุสถานที่ที่อยู่นอกแผนการเดินทาง หรือติดต่อสื่อสารองค์กรต่างๆ ที่ไม่เคยเดินทางไป
จะเห็นว่า สมาร์ทโฟน ที่ระบุพิกัด Location Based Service ได้นั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งาน 28% นี้มากที่สุดมากกว่า กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มอื่นๆ ที่เน้นการทำกิจกรรม หรือ ระบุพิกัดเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น
Pew Internet ยังเผยผลการวิจัยต่อว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นที่เกิดขึ้นนั้นใน 5% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน นั้นนิยมใช้ในการหาสถานที่ หรือบริการที่ต้องการค้นหาผ่าน Social Media เช่น Foursquare หรือ Gowalla เป็นหลัก ส่วน 12% ในกลุ่มต่อมาใช้ฟังก์ชันแผนที่ GeoTagging Service พื้นฐานของสมาร์ทโฟนที่ติดมากับตัวเครื่อง ที่น่าสนใจคือ 9% ใช้บริการ Location Based Service เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Twitter และ LinkedIn เพื่อแสดงพิกัดให้เหล่าเพื่อนๆในเครือข่ายได้รู้ว่า ขณะนี้เค้าอยู่ที่ใด นับว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับการทำการตลาดผ่าน Location Based Service ที่น่าจับมาเป็นกรณีศึกษาที่ดีได้ทีเดียว
ในสหรัฐฯ นั้นการตื่นเต้นในการใช้ Location Based Service ผ่าน Social Media และแบ่งปันพิกัดที่อยู่นั้นยังไม่ใช่พฤติกรรม ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้สมาร์ทโฟนนัก สิ่งที่จะตอบโจทย์มากกว่าการเล่นสนุกผ่าน Location Based Service ของคนอเมริกา นั้นคือการใช้ประโยชน์ของ Location Based Service ผ่านสมาร์ทโฟนบนมือเค้าได้สะดวกยังไงมากกว่า
ในส่วนของกลุ่มวัยรุ่นที่ถือครองสมาร์ทโฟนนั้นกลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกว่า 28% ของกลุ่มคนทำงาน เพราะว่า 55% นิยมใช้ค้นหาข้อมูล และบริการต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ของพวกเขา ส่วน 58% ใช้แค่ระบุพิกัดเพื่อความเพลิดเพลินไม่ได้ต้องการประโยนช์อะไร ที่สำคัญผลวิจัยครั้งนี้ของ Pew Internet ได้ให้ความกระจ่างแล้วว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน ในช่วงอายุ 18-49 ปีทั้งหมดนี้ มีแนวโน้มมากกว่า 50% ที่จะใช้บริการ Location Based Service และให้ความสนใจในบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการระบุพิกัด แต่การใช้งานแต่ละฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ว่าจะเป็นการนำทาง ความบันเทิง หรือค้นหาสถานที่
ทั้งหมดจะใช้งานเพียงไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สองอย่าง แต่จะไม่ครบทุกฟังก์ชัน หรือมีก็เป็นส่วนน้อย เพราะพื้นฐานการใช้บริการ Location Based Service ทั้งหมดของกลุ่มผู้ใช้กลุ่มี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความสามารถของสมาร์ทโฟนที่มีอยู่ว่ามีข้อจำกัดแค่ไหน
ต่างจากประเทศไทย นะครับที่เด็กวัยรุ่น และ พนักงานบริษัท ต่างใช้ฟังก์ชัน Location Based Service กันครบเลยโดยไม่เกี่ยงในเรื่องอุปกรณ์ เพราะกำลังซื้อนั้นเต็มที่อยู่แล้ว ไม่เชื่อมองข้างๆสิครับมีใครไม่ใช้ iPhone, iPad2 หรือ Android ตัวท็อปๆบ้าง
One Comment