FeaturedInbound MarketingMarketing StrategyMarketing to mobileMobile Technology

Mobile Affiliate และ Monetize Apps วัดผลผ่านแคมเปญ

Model ธุรกิจแบบ Affiliate บน Mobile แบบนี้ กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ที่เห็นได้ชัดคือ ระบบของแอพพลิเคชั่น Line ซึ่งเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา

coins-line-03

ตลาดของ Mobile ยังคงเติบโตขึ้นเท่าตัว โดยเฉพาะส่วนของแอพพลิเคชั่นที่ไปพร้อมกับ Content ซ้ำยังส่งผลให้กับระบบโฆษณารูปแบบอื่นๆ บน Mobile Platform ให้หวือหวา และดูน่าสนใจในสายตาของผู้บริโภค ที่น่าทึ่งคือ การตลาด และแคมเปญบนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนพวกนี้ นั้นล้วนแต่ได้ใจและตรงกลุ่มของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ๆ ตัวอย่างดูง่ายๆ ก็คือแอพพลิเคชั่น Line แอพพลิเคชั่นยอดฮิตที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ซึ่งมีอัตราที่สูงขึ้น

2013111411108f49

20131114113073de

โดยในตอนนี้มี Content และรูปแบบการโฆษณารูปแบบมากมายให้ผู้บริโภคตื่นตาตื่นใจ อีกทั้งขยาย แพลตฟอร์มให้บริการ API แก่เหล่านักพัฒนาเกมได้ดึงเอาข้อมูลของผู้ใช้งานบน Line ทั้งหลายไปพัฒนาร่วมกับเกมให้เกิดเป็นช่องทางขยายตลาด และแบ่งปันส่วนแบ่งให้แก่กลุ่มนักพัฒนาทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งทางฝั่งคู่แข่งอย่าง WeChat ก็เริ่มมีการให้บริการ API ของตัวเอง และมีการพัฒนาเกมให้เล่นในประเทศจีนเช่นกัน

กลายเป็นว่ารูปแบบการโฆษณาผ่าน Mobile Marketing นั้นเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสูงทันที ยกตัวอย่างของ Line บริษัทที่ผมทำงานอยู่นั้น เป็น Partner เล็กๆ ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ขนาด Package ที่ทาง Line มีให้นั้นราคาสูงลิบลิ่ว ตั้งแต่ Official Account ที่ดูถูกที่สุด หรือ Line Official Home ที่เหมือน Fan Page ของ Facebook ที่ถูกลองลงมาก็มี หลายแบรนด์กล้าจะลงทุนไปถึงการออกแบบ Stickers น่ารักๆ ที่ขนาดมีอาร์ตเวิร์กเอง เสียค่าใช้จ่ายถูกที่สุดก็ยังเป็นตัวเลขที่แพงอยู่ดี อดคิดไม่ได้ว่า KBank ที่ให้ Line ออกแบบตัวการ์ตูน Cony และ Brown ใน Stickers ของตัวเองนั้น ราคาน่าจะโหดเอาการ การลงทุนเพื่อสร้าง Awareness นั้นได้ผลกับกลุ่มผู้บริโภคจริงหรือเปล่า คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่งที่จริงแล้วเราสามารถวัดผล Engagement เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ (Monetize) ตัวแอพพลิเคชั่น และยอดดาวน์โหลดพวกนี้ได้เสมอ ผ่านเครื่องมือวัดผลมากมายให้นักการตลาดและนักพัฒนา ที่ต้องจับมือกันเป็นทีมได้เลือกใช้ครับ

วิเคราะห์รูปแบบการตลาดบน Mobile ในเชิงทดลองของประเทศไทยในช่วงนี้

ที่บอกว่าเป็นการตลาดเชิงทดลองนั้น ก็คือการสร้างระบบบางอย่างขึ้นมา เพื่อเป็นการสำรวจว่า Model ของธุรกิจที่วางแผนนั้นเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค หรือกลุ่มตลาดที่กำลังลงทุนในส่วนนี้ได้อย่างดีหรือเปล่า ซึ่งตอนนี้จะเห็นว่ารูปแบบเชิงทดลองที่เห็นเป็นประจำ จากบริษัทฝั่งทวีปเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี และจีนนั้น คือ Affiliate Marketing หรือการตลาดในเชิงโฆษณาผ่านผู้พัฒนา หรือผู้ที่ต้องการโฆษณาให้กับผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ในรูปแบบตัวแทน ซึ่งถ้ามีการซื้อ-ขายผ่าน Affiliate ของตัวแทน ก็จะมีการแบ่งปันค่าคอมมิชชั่นให้เป็นรายได้

ภาพรวม Affiliate Marketing ในประเทศไทย

หากมองในรูปแบบภาพรวมแล้ว Affiliate ของประเทศไทย บนสื่อออนไลน์และสมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่นนั้น ยังไม่ค่อยได้รับการตอบรับที่ดีสักเท่าไรจากผู้ใช้งานประเทศไทย โดยเฉพาะในเว็บไซต์ที่ยังไม่นับเรื่องของสมาร์ทโฟนนั้น ภาพรวมที่สามารถทำเงินให้กับคนไทยโดยบริการของคนไทยด้วยกัน ก็มีแค่บริการบัตรเครดิต ที่ให้เราวาง Link หรือแบนเนอร์โฆษณา ที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ รองจากนั้นก็คือ Affiliate ด้านการท่องเที่ยว ทัวร์ สายการบิน และบริการของต่างประเทศ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมไปสร้างรายได้จากต่างประเทศมากกว่า จะลงทุนกับกำลังซื้อที่น้อยนิดจากประเทศไทยด้วยกัน ทำให้ระบบ Affiliate หลายๆ เจ้าในประเทศไทยนั้น ล้มหายกันไปก็เยอะ สร้างรายได้ที่นานๆ จะมีเข้ามาก็ยังคงมีบ้าง อย่างแบรนด์ของ Lazada และ Zalora ที่มีระบบ Affiliate สำหรับเป็นตัวแทนขายสินค้า แบ่งค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น

สำหรับภาพรวมของ Affiliate ในตลาดของ Mobile นั้นก็คงหนีไม่พ้นแอพพลิเคชั่นที่มีการแบ่งค่าคอมมิชชั่นมากมายให้กับผู้พัฒนาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะการแบ่งปันร่วมกันผ่านระบบพวกนี้ส่วนมากเป็นการแบ่งปันที่ไม่ได้ออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน แต่เป็นรูปแบบของ Traffics หรือสถิติต่างๆ ในการที่ผู้บริโภคได้รับรู้ว่ามีแอพพลิเคชั่นเหล่านี้อยู่ในระบบให้ดาวน์โหลด เพียงแค่การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ต้องดาวน์โหลดผ่านระบบ Affiliate ตัวกลางตัวหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีการใช้งาน หรือดาวน์โหลดแล้วก็จะเป็นการได้รับ Offers ดีๆ ทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ผู้พัฒนาก็ได้รับการโปรโมต และยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ส่วนผู้บริโภคที่ได้โหลดแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ผ่านระบบ Affiliate บน Mobile Apps ก็จะได้บางสิ่งกลับไปผ่านแอพพลิเคชั่นหลักที่เป็นตัวกระจายเครือข่าย เช่น หากเป็นเกมที่มีการใช้ระบบ Affiliate ตัวนี้ ให้ไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหนึ่ง ติดตั้งเสร็จจะได้รับไอเทมพิเศษในเกมไว้ใช้เล่นเกมนั้นต่อไปได้ ก็จะทำให้ผู้บริโภคคนนั้นได้รับไอเทมพิเศษ ซ้ำยังดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ที่อาจจะตอบโจทย์และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มนักพัฒนาภายหลังได้นั่นเอง

Model ธุรกิจแบบ Affiliate บน Mobile แบบนี้ กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ที่เห็นได้ชัดคือ ระบบของแอพพลิเคชั่น Line ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ต้องการจะยกเป็นกรณีศึกษา ที่เป็นแอพพลิเคชั่นที่กล้าเปิดตลาดส่วนนี้มาได้อย่างชัดเจน เช่น Line Free-Coin นั่นเอง

201311141154d9eb

กรณีศึกษาของ Line Free-Coin

แน่นอนว่า Line นั้นมียอดผู้ใช้มากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก แค่ประเทศไทยประเทศเดียวก็เรียกว่า ประมาณเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ก็ว่าได้ นอกจาก Sticker Shop หรือ Official Account ของ Line ที่สร้างมูลค่ากับ Line แลกกับโอกาสทางธุรกิจด้านการสร้าง Brand Awareness ให้กับแบรนด์แล้ว Line ยังคงมองเห็นกลุ่มเป้าหมายต่อไป คือกลุ่มของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน Mobile เป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ ซึ่งหากว่าเป็นกลุ่ม Startup ที่มีฝีมือ บริษัทเล็กๆ มากมายต้องการสร้างชื่อเสียง หรือเฟ้นหา VC (Venture Capital) มาร่วมลงทุนก็ต้องมีการสร้างโอกาสในการแสดงตัวเป็นที่รู้จักก่อน การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เป็นทางเลือกที่น่าจะช่วยได้ เช่น Facebook App Install หรือการโปรโมตผ่าน Mobile Display Ads อย่าง Admob, Inmobi หรือ Display Ads ตัวอื่นๆ เป็นต้น จะมีลุ้นก็แค่หากมีการลงทุนผ่านโฆษณาเหล่านั้นแบบ CPC อาจจะไม่ค่อยได้ผลนัก ถ้าแอพพลิเคชั่นไม่ได้โดดเด่นจริง ดังนั้น การโฆษณาผ่าน Display Network หรือช่องทางใดๆ ต้องมีการวัดผลกลับมาให้ได้

Line ยังคงมองเห็นกลุ่มเป้าหมายต่อไป คือกลุ่มของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน Mobile
กระบวนการวัดผลหลังจากทำการตลาด หรือไปร่วมโปรโมชั่นผ่าน Affiliate Network บนแอพพลิเคชั่นแล้ว เราเรียกการวัดผลนี้ว่า Monetize Application เป็นการวัดผลเพื่อทราบ ROI (Return on Investment) ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ หรือจะเรียกว่าเป็นการวัดผลวิเคราะห์การใช้งาน ที่สามารถบ่งชี้แอพพลิเคชั่นของเราว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นรายได้ในภายหลัง คือหาเงินผ่านแอพพลิเคชั่นที่เราพัฒนาขึ้นมานั่นเอง ซึ่งนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นมีทางเลือกในตอนนี้ แค่ 2 ทางหลักๆ คือ

  • Free-Apps ร่วมกับ In-App Purchase: ได้ผลดีถ้า Content ของแอพพลิเคชั่นน่าสนใจ และมียอดผู้ใช้สูง
  • Paid Apps: ได้ผลดี ถ้าแอพพลิเคชั่นที่พัฒนามานั้นเสถียร และน่าเชื่อถือในสายตาของผู้ใช้งาน และผู้บริโภค

เป็นทางเลือกที่มีอยู่น้อยและลำบากในการตัดสินใจเท่าที่ควร ดังนั้น ทางเลือกแรกจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับกลุ่มนักพัฒนาเริ่มต้น โดยผ่านการโปรโมต Offers บางสิ่งร่วมกับ Affiliate Network ของแอพพลิเคชั่นเหล่านั้น ร่วมกับโปรโมตผ่าน Ads Network Spending ให้เกิดยอดดาวน์โหลดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ใน Budget ที่วางลงไป แล้วไปลุ้นกับ Content ภายในที่จะสร้าง In-App Purchase ได้อีกทีจะดีกว่า

เพราะหากว่ามีการทำการตลาดสำหรับแจก Offers บางอย่างกับผู้ใช้ แต่ไม่ได้มีการวัดผลเลยว่าเกิด Effect อะไรกับแอพพลิเคชั่นของเราที่พัฒนาและทำการตลาดไปหรือเปล่า นั่นจะเป็นการบอกว่า ROI ที่เราได้รับนั้นไม่คุ้มค่า ดังนั้น การวางแผนการตลาดแบบนี้จำเป็นต้องแบ่งชัดเจนออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • การเลือกใช้ Affiliate & Ads Network ผ่านแอพพลิเคชั่น
  • การวัดผลผู้ใช้งาน ดาวน์โหลด หรือ Effect หลายๆ อย่างกับแอพพลิเคชั่นของเรา
  • การวิเคราะห์ และวางแผนรับมือปรับปรุงแคมเปญ เพื่อการเพิ่มยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเราอีกที

เริ่มต้นด้วยการใช้โฆษณาผ่าน Display Network และ Affiliate บน Mobile สร้าง Brand Awareness

วิธีหนึ่งที่น่าจะเป็นแนวทางในการลงทุนเพื่อสร้าง Brand Awareness ได้ ก็น่าจะเป็นการไปร่วมโปรโมชั่นการตลาดผ่านแอพพลิเคชั่นอีกตัว ซึ่งช่องทางส่วนนี้น่าจะเป็นการเลือกใช้ Affiliate Network บนแอพพลิเคชั่น ซึ่งตัวอย่างที่ยกมานั้นคือ Line Free-Coin นั่นเอง

รูปแบบการทำงานของ Line Free-Coin คือ การที่เราซื้อไปCoin สำหรับแจกให้กับผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นของ Line ให้ผู้ใช้งานเหล่านั้นมีเหรียญ หรือ Coin พิเศษ ใช้แทนเงินสดไว้ซื้อไอเทมในเกม หรือซื้อ Sticker มาใช้ในเครื่องตัวเอง ผ่านการตกลงกับ Line ว่าเหรียญ หรือ Coin พิเศษที่เราซื้อไปแจกผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นนั้นเหมาะสมแค่ไหน ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ ก็ได้แก่ การโปรโมตให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหนึ่งๆ ผ่านเกมและแอพพลิเคชั่นของ Line เช่น เราจ่ายเงินซื้อ Coin ในแต่ละเกมแก่ผู้เล่น หากมีการดาวน์โหลดเกมหนึ่งๆ หรือแอพพลิเคชั่นหนึ่งๆ ของเรา ผู้เล่นก็จะได้ไป 35 Coins (ตัวอย่าง) ซึ่งหากว่าเราทำการโปรโมตแจก Coin กับหลายๆ แอพพลิเคชั่นของ Line เช่น อย่างน้อยๆ 3 แอพพลิเคชั่น เมื่อเกิดการดาวน์โหลดผ่าน Line Free -Coin ทั้ง 3 แอพพลิเคชั่นของเรา ผู้ใช้งานก็จะได้ Coin สำหรับใช้ซื้อของในเกม หรือ Sticker ทั้งหมด 35×3 = 105 Coins ทันที

Line -FreeCoin ในตอนนี้นั้นจะใช้ได้เพียงแค่แพลตฟอร์มของ Android เพียงแพลตฟอร์มเดียว ที่สามารถแปลง Point จาก Coin แล้วนำมาซื้อ-ขายได้ผ่านแอพพลิเคชั่น เพราะ Policy ตัวนี้จะขัดแย้งกับ Apple App Store ทำให้สาวกของ Apple อาจจะผิดหวังกันเล็กน้อยไปก่อน ซึ่งต้องรอดูว่า Policy ตัวนี้จะตอบโจทย์ของ Apple ในภายหลังอีกไหม

Business Model รูปแบบนี้เป็นการแบ่งผลประโยชน์แก่ผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น และผู้พัฒนาให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ผ่านแอพพลิเคชั่นเครือข่าย หรือ Affiliate Network บน Mobile Apps อย่าง Line Free-Coin เป็นต้น ในมุมของนักพัฒนา หรือบริษัท Startups ที่ต้องการโปรโมตแอพพลิเคชั่นของตัวเองแล้วถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าพอตัว โดยตอนนี้ Line Free-Coin นั้นเปิดให้ใช้งานได้ผ่านแพลตฟอร์ม Android ในประเทศไทย จีน ญี่ปุ่นแล้ว
นอกจาก Line Free-Coin แล้ว แอพพลิเคชั่นตัวอื่นที่น่าสนใจก็คงจะไม่พ้น Tapjoy ที่เหมาะกับการโฆษณาให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของเราผ่านเกมที่อยู่ใน Network ของ Tapjoy ในรูปแบบ In-App Purchase หรือ AppDriver บริการน้องใหม่ที่สามารถช่วยโฆษณาแอพพลิคเคชั่นในรูปแบบการลงโฆษณาแบบ Reward Advertising หรือระบบให้ผลตอบแทนค่าคอมมิชชั่นในการทำ Action หรือใช้งานแอพพลิเคชั่นสักอย่างใด เช่น สมัครสมาชิกแอพพลิเคชั่น หรืออัพโหลดรูป โพสต์ แชร์ข้อความไม่ก็ Invite Friends ซึ่งผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นนั้น จะเห็นหน้า Offerwall ที่อยู่ในแอพพลิเคชั่นนั้นและจะมีการให้เราดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหรือทำการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ หรือทำการซื้อสินค้าในเว็บไซต์นั้น พอทำแล้วเราจะได้รับแต้มสะสมคะแนน หรือไอเทมในเกม เพื่อนำไปใช้ซื้อของในเกมหรือซื้อสินค้าในแอพพลิเคชั่นนั้นอีกที ซึ่งจะนำมาถึงรายได้ผ่านแอพพลิเคชั่นเหมือนระบบ Affiliate Network พร้อมกับฟังก์ชั่นวิเคราะห์จำนวน Access และพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่ใช้แอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย ซึ่งกำลังจะมีการวางตัวลงในประเทศไทยในไม่ช้านี้

ขั้นตอนการวัดผล หรือ Mobile Monetize Application

เมื่อมีการทำแคมเปญกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ แล้ว เช่น ไปซื้อ Line Free-Coin แจก Coin แก่คนที่มาโหลดแอพพลิเคชั่นของเรา ก็ต้องมีการวางแผนก่อนจะทำการตลาดตรงนี้ ด้วยการใช้บริการวัดผลการใช้งาน การติดตั้ง การถอนตัวแอพพลิเคชั่นของเราออกมาเป็นรายงาน เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ว่า เมื่อมีคนดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของเราแล้ว มีคนใช้งานจริงๆ เท่าไร หรือเพียงแค่มีการดาวน์โหลดมาเพื่อได้ไอเทม หรือ Coin จาก Line เสร็จแล้วก็ถอนแอพพลิเคชั่นของเราไปทันที

ข้อมูลเหล่านี้มีผล ที่สำคัญหลังจากการวางแผนโปรโมตโฆษณาแอพพลิเคชั่นของเราผ่าน Affiliate Network หรือ Mobile Display Ads ทั้งหมด เพราะมันจะเป็นการการันตีว่า แท้จริงแล้วแอพพลิเคชั่นของเราน่าสนใจมากมายแค่ไหน และได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานจริงแท้แค่ไหน เพราะถ้าเป็นแค่การลงทุน เพื่อให้เกิดยอดดาวน์โหลด แต่ไม่มียอดการใช้งาน หรือยอดการ Subscribe ผ่านแอพพลิเคชั่นของเรา ก็มีผลต่อ VC ที่เราหมายปองไว้ หรือรายได้อื่นๆ ที่เราคาดหวังไว้นั่นเอง ดังนั้น การวัดผลเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อวิเคราะห์ว่าเมื่อมีคนดาวน์โหลดไปแล้ว จากช่องทางใดๆ ก็ตาม แอพพลิเคชั่นของเรานั้นตอบโจทย์และพอจะมีแนวทางสร้างรายได้อีกหรือไม่

20131114113811c7

20131114114791e3

201311141147c782 201311141147b63e

201311141147a383

เครื่องมือในการวิเคราะห์และวัดผลนั้น มีให้เลือกใช้มากมาย ตั้งแต่ Google Analytics ของแอพพลิเคชั่น หรือจะเป็นบริการ Track (ตรวจจับ) พฤติกรรมของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Millennial Media หรือบริการน้องใหม่ที่ผมได้ลองใช้งานแล้วอย่าง Party Track ตัววัดผลน้องใหม่ที่มีผู้ใช้งานอย่างแอพพลิเคชั่นในประเทศไทยหลายเจ้า เป็นเครื่องมือพิเศษสำหรับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ในรูปแบบของ SDK (Software Development Kit) ให้ทีมนักพัฒนาสามารถนำไปเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นที่กำลังพัฒนา ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์ Media แต่ละช่องทางไม่ว่าจะเป็น วัน เดือน เวลา จำนวนการดาวน์โหลด และยังมีในเรื่อง ROI และ LTV (Life Time Value) การวิเคราะห์แอ็คชั่น เปิดแอพพลิเคชั่น ปิดหน้าจอ เลื่อนหน้าจอ หรือกระทำบางอย่างกับแอพพลิเคชั่น เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมือหลายๆ ตัวที่สามารถนำมาใช้วัดผลและวิเคราะห์ได้มากมาย เพียงแค่ขอให้เครื่องมือที่ใช้นั้นสามารถวิเคราะห์ชี้วัดประสิทธิภาพได้ในหลายๆ ด้าน อีกทั้งยังทำให้เราเข้าใจการทำการตลาดแอพพลิเคชั่นได้ดีขึ้น

ขั้นตอนสุดท้าย วิเคราะห์และปรับปรุง

ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดคือ การนำรายงานสถิติทั้งหลายมาเปรียบเทียบการใช้งานของแอพพลิเคชั่น ประกอบกับ Budget ที่เล่นไปกับการตลาดในการโปรโมตแอพพลิเคชั่น จะเป็นขั้นตอนที่จะทำให้นักการตลาด และนักพัฒนาที่รวมเป็นทีมเดียวกันได้เข้าใจว่า สุดท้ายแล้ว ROI ที่ได้มาคุ้มค่าพอที่จะผลักดันแอพพลิเคชั่นของเราต่อไป หรือจะคุ้มค่าพอจะปรับแต่งแอพพลิเคชั่นของเราให้น่าใช้งานและมีฟังก์ชั่นที่รองรับ และขยายผู้ใช้งานมากขึ้นหรือไม่

เพราะถ้าหากไม่มีการปรับปรุงใดๆ และอาศัยแค่การโปรโมตผ่านการโฆษณา จาก Line Free-Coin จาก Admob หรืออื่นๆ ไปแล้ว ก็มีเพียงแค่คนที่ใช้งานดาวน์โหลดไว้ รอเวลาลบออกไป ไม่ได้เห็นคุณค่าของแอพพลิเคชั่นของเรา สุดท้ายแล้วก็จะไม่สามารถสร้างรายได้หลักจริงๆ จากการขาย หรือการขยายตลาดของเราได้เลย นอกจากการลงทุน Spend Budget ไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินจะหมดเท่านั้นครับ

สรุป การตลาดเชิงทดลอง และความเป็นไปได้

สำหรับการตลาดเชิงทดลองอย่าง Mobile Affiliate Network ที่ยกตัวอย่างมาอย่าง Line Free-Coin และการวัดผลวิเคราะห์แอพพลิเคชั่นผ่าน Millennium Media หรือ Party Track นั้น จะเป็นเพียงขั้นตอนในการวางแผนและวิเคราะห์ผลลัพธ์จาก ROI ที่ลงทุนไป แนวโน้มของผู้ใช้งาน และการผลักดันให้เกิด ระบบ Ecosystem ของการตลาดรูปแบบนี้เป็นเหตุผลหลักที่จะทำให้เรามองเห็นว่า แนวโน้มและเทรนด์ของผู้บริโภคในตลาดแอพพลิเคชั่นนั้น มีความนิยมในส่วนไหนนอกจากรูปแบบข้างต้นแล้ว ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็น Model การตลาดเชิงทดลองรูปแบบแปลกใหม่อีกมากมายปรากฏขึ้น จนกว่าที่รูปแบบทั้งหลายจะลงตัวและอิ่มตัว

ดังนั้น หากว่ามีการสังเกตการตลาดเชิงทดลองเหล่านี้แล้ว แนะนำว่าลองวิเคราะห์จับทางดูดีๆ แล้วหันไปทดลองร่วมดู เพราะบางทีอาจจะเป็นการสนับสนุนและแบ่งปันพร้อมกับยืนยันว่า การทดลองรูปแบบนี้ได้ผล สิ่งที่จะได้รับเมื่อการตลาดตัวนี้สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาคือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างอำนวยให้กับทุกฝ่ายที่ร่วมทดลองครับ

บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร E-Commerce

eCommerce ฉบับที่ 179, พฤศจิกายน 2556
eCommerce ฉบับที่ 179, พฤศจิกายน 2556

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน