McCann Worldgroup Thailand แผนกคอนซูเมอร์ อินไซต์ เผยผลสำรวจล่าสุด ชี้แนวโน้มนวัตกรรมสร้างสรรค์จะเป็นตัวแปรสำคัญในโลกการสื่อสารแห่งอนาคตในยุคที่ผู้บริโภคพร้อมจะก้าวไปกับการใช้สื่อแบบผสมผสานร่วมไปกับการสัมผัสประสบการณ์ใหม่ในชีวิต นางสาววฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม หรือ CIO กล่าวว่า การสร้างวัฒนธรรม “Idea” ในองค์กรถือเป็นหัวใจหลักในการผลักดันการสร้างนวัตกรรมที่ตรงใจผู้บริโภคและตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจการสื่อสารในปี 2554 ความท้าทายไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำยุคต่างๆ แต่คือการออกแบบแนวคิดเทคโนโลยีนั้นๆ ให้มีความหมายในชีวิตจริงของผู้บริโภคในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยย้ำความเป็น “Social” ให้คงเป็นหัวใจของแคมเปญโฆษณาไม่ว่าจะอยู่ในสื่อใดก็ตาม
ในปัจจุบันผู้บริโภคใช้ชีวิตอยู่ทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์ โดยกิจกรรมในโลกออนไลน์นั้นสร้างความหลากหลายให้กับการใช้ชีวิตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบทสนทนา การแชร์ การคอมเม้นท์ การไลค์ และอื่นๆ ที่เป็นประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากโลกจริง ด้วยการใช้ชีวิตแบบผสมผสานนี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่มีมุมมองที่เปลี่ยนไปในการตอบรับกับการสื่อสาร โดยความเป็น Phygital จะเป็นสะพานเชื่อมโลกความเป็นจริงและโลกออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน โดยสื่อผสมใหม่ๆเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค
Bring Digital to Life
ในปัจจุบันผู้บริโภคใช้ชีวิตอยู่ทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์ โดยกิจกรรมในโลกออนไลน์นั้นสร้างความหลากหลายให้กับการใช้ชีวิตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบทสนทนา การแชร์ การคอมเม้นท์ การไลค์ และอื่นๆ ที่เป็นประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากโลกจริง ด้วยการใช้ชีวิตแบบผสมผสานนี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่มีมุมมองที่เปลี่ยนไปในตอบรับกับการสื่อสาร โดยความเป็น Phygital จะเป็นสะพานเชื่อมความเป็นโลกจริงและโลกออนไลน์ไว้ด้วยกัน โดยสื่อผสมใหม่ๆเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค
Full-Fledged Convergence
ต่อเนื่องจากยุคดิจิตอลที่ใครๆ ก็ชื่นชอบกับการสื่อสารที่โต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ บทบาทของผู้บริโภคในฐานะสื่อ (Medium) ไม่ใช่เพียงกลุ่มเป้าหมาย (Destination) จะเป็นโจทย์สำคัญในการสื่อสารของโลกอนาคต สื่อหลากหลายในชีวิตประจำวันจะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ร่วมผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลด้านระบุพิกัดแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะก่อให้ประสบการณ์การสื่อสารในรูปแบบตัวต่อตัว (Personalization) และประสบการณ์ความน่าตื่นตาตื่นใจในรูปแบบไลฟ์ (Live)
Year of 3D
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารกำลังเป็นที่กล่าวถึงและผ่านการพลิกโฉมครั้งใหญ่ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความแปลกใหม่ตลอดเวลา โดยโจทย์หลักยังคงเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์สื่อที่จะเป็นที่กล่าวถึงขั้นทอล์คออฟเดอะทาวน์ สื่อใหม่ที่กำลังเป็นที่กล่าวขานนี้คงหนีไม่พ้นสื่อสร้างภาพเสมือนจริงสามมิติ (3D Visualization) ที่ก่อให้เกิดโอกาสใหม่ในการใช้ความเป็นดิจิตอลต่อยอดประสบการณ์ในชีวิตจริง ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของสิ่งที่ไม่มีในชีวิตจริงแต่ถูกทำให้มองเห็นได้ด้วยเทคโนโลยี
The World, My Playground
การกลับมาของเกมส์เป็นสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆด้วยแล้วทำให้โลกของเรานั้นเปรียบเสมือนสนามเด็กเล่นก็ว่าได้ เมื่อการระบุพิกัดและ Augmented Reality มาพบกับสมาร์ทโฟน เรื่องการสื่อสารก็เป็นเรื่องของความสนุก ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การเล่นเกมส์อินเทอร์แอ็กทีฟในเวลาสถานที่จริง รูปแบบใหม่ๆ ในการหาที่ตั้งร้านค้า หรือแม้กระทั่งการเล่นโซเชียลเกมส์ในโลกจริง
Holo Spectacular
การสร้างภาพจากเทคโนโลยีโฮโลแกรมที่สร้างความสงสัยในใจผู้บริโภคที่ได้พบเห็น ว่าอะไรจริงหรืออะไรไม่จริงกันแน่ ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างความดึงดูดใจต่อสื่อบีโลว์เดอะไลน์ (Below the Line) ที่ฉีกรูปแบบจากสื่อแบบดั้งเดิม โดยเทรนด์ในอนาคตนั้นเราจะได้เห็นการสร้างสรรค์ออกแบบโฮโลแกรมใน อีเว้นต์ คอนเสิร์ต และแบรนด์แอ็กทีเวชั่นอย่างเต็มตัว ที่นอกจะสร้างความแปลกใหม่ในโลกจริงแล้วยังก่อให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์อีกด้วย
Loco-Motion Culture
การกดปุ่มจะกลายเป็นเรื่องไม่เข้ากับยุคสมัยใหม่อีกต่อไป Swipe, Tab และ Flip จะเข้ามาแทนที่การพลิกหน้ากระดาษแบบเดิมๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจับเคลื่อนไหว รับคำสั่งจากเสียง ไวต่อแรงกด สแกนสายตา เหล่านี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแง่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ ทั้งนี้ยังจะสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการสร้างสรรค์ประสบการณ์ของแบรนด์ผ่านสื่อต่างไปพร้อมๆกัน ยิ่งๆไปกว่านั้นเทคโนโลยีที่รับคำสั่งจากความเคลื่อนไหว (Gesture-based computing) ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้ชีวิตเหมือนอยู่ในหนังไซไฟ สั่งการจากภาพจำลองสามมิติในอากาศอีกด้วย
Info in A Capsule
ในยุคที่โลกเราเต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาลหลากหลายรูปแบบ เทคโนโลยีที่ทำให้การรับข้อมูลเป็นไปโดยง่ายเหมือนอยู่แคปซูลนั้นถูกออกแบบขึ้นมามากมาย เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่เคยชินไปแล้วกับการอินเทอร์แอ็คกับข้อมูลผ่านสัมผัส (Multi-Touch Interface) เทรนด์ที่เด่นชัด คือ การเล่าเรื่องราวของแบรนด์ที่จะใช้ความเป็นอินโฟกราฟฟิค หรือเล่นกับประสาทสัมผัสที่มีพลังที่สุดของผู้บริโภค นั่นคือผ่านรูปภาพการมองเห็นนั่นเอง
Social Connoisseur
จากผลวิจัยผู้บริโภค เสน่ห์ของ Social Media นั้นเกิดจาก ความเป็นเหมือนบทสนทนาที่โต้ตอบแชร์กันได้ การได้ “SociaLife” ความเป็นตัวตนได้อย่างเรียลไทม์ และความอัจฉริยะในแง่ข้อมูลของคอมมิวนิตี้ออนไลน์ ในแง่ของเทรนด์นวัตกรรมโซเชียลใหม่ๆที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคตนั้นล้วนแต่จะได้รับแรงบันดาลใจมาจากผู้บริโภคและสิ่งที่ผู้บริโภคลุ่มหลงสนใจ แพลตฟอร์มใหม่ๆที่ให้ผู้บริโภคได้มองโลกในมุมมองใหม่ๆ เข้าถึงวัฒนธรรมผ่านสายตาผู้บริโภคต่างมุมโลก และแชร์แรงบันดาลใจใหม่ๆที่ตัวเองค้นพบ พูดง่ายๆก็คือ สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของผู้บริโภคในแง่มุมต่างจะถูกผันมาเป็นแพลตฟอร์มสื่อใหม่ๆที่เข้าถึงแม้ในชีวิตประจำวัน
Avant-garde Media Art
เทคโนโลยีด้านศิลปะได้ก้าวเข้ามามีอิทธิพลในโลกการออกแบบ ในแง่สื่อก็เช่นกัน นวัตกรรมของเทคโนโลยีจะช่วยให้ประสบการณ์การสร้างสรรค์ศิลปะเป็นเรื่องง่าย ทำให้ผู้บริโภคสามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของตนผ่านแคนวาสที่เป็นสื่ออินเตอร์แอ็กทีฟซึ่งผสมผสานความเป็นโลกจริงและโลกดิจิตอลไว้ด้วยกันอย่างแยบยล
Retail Futurescape
สื่อในร้านค้ารีเทลและบริเวณจุดขายต่างๆจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในอนาคตการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์จะถูกนำเสนอผ่านประสาทสัมผัสที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่เมื่อผู้บริโภคเห็นสินค้าในหน้าออนไลน์ เดินผ่านหน้าร้าน จนถึงแคชเชียร์จ่ายเงิน คอนเซ็ปท์ของภาพจำลองการลองเสิ้อผ้าแม้ไม่ได้สวมจริง (Virtual Fitting Room) กระจกหน้าร้านที่อินเตอร์แอ็คทีฟเคลื่อนไหวเมื่อมีคนเดินผ่าน (Interactive Shopping Window) หรือแม้กระทั่งหน้าร้านออนไลน์ที่มีระบบจำลองภาพเสมือนจริง (Augmented Reality Online Storefront) ถือเป็นเพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นของนวัตกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ตีพิมพ์นิตยสาร: World Business Ways
สื่อดิจิตอล: มติชนออนไลน์, เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)