Innovation

ก่อนจะถึงยุค Screenagers เราติดอะไรกันมาก่อน

ถ้าวัฒนธรรมหน้าจอ หรือ Screenager นั้นคือภาพที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้นี้ กับการที่วัยรุ่น หรือเหล่าเยาวชนคนรุ่นใหม่จะมีสมาธิจดจ่อกับโลกแห่งความเป็นจริงสั้นลง

Generations before Screenager

และใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารพกพา อย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน มากขึ้นชนิดที่เรียกว่าก้มหน้าดู หยิบขึ้นมาดู ตรวจเช็คข้อมูล คุยกับเพื่อน ติดตามข่าวสาร ทักทายคนใน Social Network แบบทั้งวันทั้งคืน เหมือนกับที่ Nicolas Negroponte ได้เขียนไว้ในหนังสือ Being Digital ของตัวเองในปี 1955 ก่อนจะมีสมาร์ทโฟนอีกเกี่ยวกับการเสพติดสื่อบนหน้าหน้าจอเว็บไซต์ การพูดคุยกับคนรอบข้างในชีวิตจริงน้อยลง การหลงไหลในรูป Pixels ของเพื่อนตรงข้าม (ดูหยะแหยงนิดๆ) จนกระทั่งคำทำนายของเขาถูกในยุคของ Twitter และ Facebook Era ซ้ำร้ายการสื่อสาร หรือกิจกรรมกับหน้าจอก็ได้เปลี่ยนจากหน้าจอวางโต๊ะ มาอยู่บนมือ และระบบเครือข่ายไร้สายกลายเป็น กลายเป็นการเสพติดวัฒนธรรมหน้าจอของทุกวันนี้ไป ก่อนหน้านี้ผู้บริโภค หรือคนทั่วไปเคยเสพติดอะไรบ้างนอกจาก ข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต นี่คงเป็นคำถามที่หลายคนคงอยากทราบแล้วเอาเป็นว่าเราไปดูกันสักนิดครับ
Generations before Screenager
ในยุคหนึ่ง “การเสพติด” ที่นอกเหนือจากการเสพติดยา หรือสารเคมีอันตราย นั้นก็มีมากมายเช่นกัน โดยเฉพาะในแวดวงของ Technology นั้นอาการ “Addict” เสพติด หรือจดจ่อสมาธิกับอุปกรณ์เทคโนโลยี เป็นปัญหาที่รุนแรงที่เทียบเท่าการติดยาเสพติดเลยทีเดียว และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบนั้นไม่ใช่เด็ก วัยรุ่นระดับมัธยมแต่อย่างใด แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นคือ กลุ่มวัยรุ่นคนทำงาน ไปจนถึงคนแก่เกษียณวัยไม้ใกล้ฝั่งเลยครับ

ติดโทรทัศน์ (TV) ติดรายการ ติดคอนเท็นต์ หรือนี่คือต้นเหตุ Screenager

สำหรับโลกเทคโนโลยี อาการเสพติดบางสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงนั้น ก็คงหนีไม่พ้นอาการติดโทรทัศน์ อาการที่ว่าก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ ก็เพียงแค่ผู้ที่มีอาการเสพติด หรือติดโทรทัศน์นั้นจะใช้เวลาดูโทรทัศน์นาน และมากกว่าที่จิตใจของพวกเขาต้องการ ประมาณว่าพวกเขารู้ดีว่าพยายามจะลดความถี่ในการจ้องโทรทัศน์ให้มากเท่าไร พวกเขาก็ไม่อาจจะทำให้สำเร็จได้ ซึ่งจุดนี้จะเป็นที่มาของการทำให้เกิดการ Interrupt การทำงาน หรือกระทำธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง และร้ายแรงสุดๆ ก็คงหนีไม่พ้นการที่ต้องตัดขาดจากสังคมโลกภายนอกติดแล้วติดรายการโทรทัศน์อย่างหนักแทนเหมือนหนึ่งในตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Requiem for a Dream เลยครับ อันที่จริงแล้วจะบอกว่าอาการนี้เป็นอาการติดโทรทัศน์ก็คงไม่ได้
Generations before Screenager
เพราะว่า 80% ของผู้ที่มีอาการนี้นั้นมักจะยอมรับว่าสนใจในคอนเท็นต์รายการที่นำเสนอมากกว่า กลายเป็นว่ารายการโทรทัศน์นำเสนอแนวทาง หรือตัวอย่างความก้าวร้าวเรื่องไม่ดีอย่างไร ผู้ชมที่เสพติดก็จะอ่อนไหวตามไปสะท้อนถึงพฤติกรรมอย่างนั้น และผลกระทบนั้นในช่วงแรกคือ เด็ก แต่ในตอนนี้กลับเป็นกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงาน แม่บ้านวัยกลางคน แนวโน้มการเสพติดประเภทนี้น่าจะเข้ามาอีกครั้งในอนาคต เมื่อสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมาช่วยทำให้อาการเสพติดโทรทัศน์ที่นับวันจะนั่งอยู่ภายในที่พักอาศัย ก็จะมาติดโทรทัศน์ไปและเดิน กิน หรือทำงานแทนก็อาจจะทำให้การทำงาน หรือสมาธิในการทำธุระหลายๆ อย่างลดลง อาจจะโดนไล่ออกจากงานได้หากมีการโดน Interrupt ตลอดเวลาครับ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ SmartTV กำลังมาไม่แน่อาการนี้จะกลับมาทำให้คนเสพติดโทรทัศน์มากขึ้นเหมือนตัวเลขเมื่อก่อนก็เป็นได้

การติดวิดีโอเกม และอินเทอร์เน็ต

อาการติดที่รุนแรงในกลุ่มคน อีก 2 อาการนั้นก็คงหนีไม่พ้น ติดอินเทอร์เน็ต และ ติดวีดีโอเกม ซึ่งอาจจะเป็นเกมออนไลน์ หรือเกมบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ก็เป็นได้ซึ่งพื้นฐานของอาการติดเหล่านี้ก็ล้วนมีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยี กลุ่มคนที่มีอาการเสพติดพฤติกรรมแบบนี้นั้นมักจะเป็นกลุ่มที่ต้องการหลบหนี และหาทางออกจากสภาวะจิตใจที่ว้าวุ่นจากโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งถือว่าเป็นอาการ ที่้ต้องบำบัด อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็มีผลกระทบที่ใกล้เคียงกับอาการประเภทนี้ เรามักจะภูมิใจในโลกที่มีแต่ด้านดี มีคนนับถือบนโลกอินเทอร์เน็ต และเกมก็เช่นกันตัวละครในเกมคือภาพสะท้อนของสิ่งที่อยากเป็น อยากกระทำ และทักษะความสามารถในเกมที่โดดเด่นนั้น หลายคนในชีวิตจริงไม่สามารถทำได้

ในอนาคตผู้บริโภคสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ ดิจิตอลคอนเท็นต์ เกม หรือโทรทัศน์ จะมีมากขึ้น ข้อดีคือความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การเลือกซื้อเลือกหา และการพบปะพูดคุยที่รวดเร็ว กลับกันพฤติกรรม Screenager ที่กล่าวมานั้น ผู้บริโภคต้องเป็นผู้กำหนดความ เหมาะสม หรือความพอดี ด้วยตัวของตัวเอง แม้ว่าข้อดีจะมากอย่างที่พูดมาบนโลกอินเทอร์เน็ต และโลกธุรกิจ แต่ข้อเสียในเรื่องของชีวิตบนโลกแห่งความเป็นจริงก็เยอะ เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์, บางสวิชต์ปิดอุปกรณ์อาจจะดีเพื่อเปิดโอกาสเจออะไรสวยๆ งามๆ ในชีวิตจริงบ้างก็ดีครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน