สำหรับผู้ที่เคยสมัคร LinkedIn และมี Profile ของเครื่องมือ Social Media ตัวนี้พนันได้ว่าคุณได้เข้ามาใช้บริการเพราะเหล่าเพื่อนที่คุณรู้จักใน Cycle ของคุณเชิญชวน Invited ให้ไปใช้บริการและคุณก็เพียงแค่ไม่อยากปัดความหลังดีต่อผู้แนะนำคุณก็เลยสมัครไปตามที่เค้าแนะนำมาเป็นการถนอมน้ำใจและพอคุณได้ใช้บริการดูแล้วบางทีก็จะเกิดอาการงงว่าหน้าตามันไม่น่าใช้แล้วมันแตกต่างกับ ระบบฝากประวัติ (Profile) ตรงไหนแล้วมันคือ Social Media ยังไงไม่เห็นจะได้เล่นเกม ตอบกระทู้ เขียนบทความได้เลยคำตอบก็คือ ก็เพราะว่า LinkedIn ไม่ใช่ Hi5, MySpace ที่วัยรุ่นต่างประเดประดังแปะปะ กราฟฟิค Gliter กระพริบแวววาว หรือ Facebook ของเล่นผ่อนคลายและสังคมนัดพบสำหรับคนทำงานและการโฆษณา
LinkedIn นั้นถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ใช้บริการที่มั่นใจในบริการว่าตนคือ “มืออาชีพ” (Professional) ที่ต้องใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในการสร้างช่องทางของผลงานหรืองาน เรียกได้ว่าเป็น Social Media สำหรับการสร้างอาชีพให้แก่ผู้เล่น LinkedIn และสำหรับบริษัทที่ต้องการหาพนักงานและผู้ชำนาญการก็สามารถวิ่งเข้าทางช่องทาง LinkedIn ได้เช่นเดียวกัน
โชคดีมาหน่อยที่ตอนนี้มีหนังสือ TextBook ดีๆสำหรับ LinkedIn ที่ชื่อว่า LinkedIn for Dummies โดย Joel Elad
หนังสือเล่มดังกล่าวจะบอกทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ LinkedIn ในภาษาที่เรียบง่ายและภาพประกอบที่ตรงตามขั้นตอน กับทุกสิ่งตั้งแต่การลงทะเบียน การสร้างประวัติโปรไฟล์ เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับธุรกิจ หรือผู้ลงทุนที่สนใจและค้นหาผู้เชี่ยวชาญ
และที่สำคัญเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจมองหาธุรกิจการช่องทางการลงทุนผ่าน LinkedIn ในส่วนคำตอบของ LinkedIn มี 2 ประเภทในบทความนี้คือ สำหรับผู้เริ่มต้น (Startups) และ ธุรกิจขนาดเล็ก (SmallBusiness) อีกตัวคำตอบคือสำหรับ องค์กรใหญ่และภาคเอกชน
หากว่าผู้สนใจที่กำลังมองหาบริษัทร่วมลงทุนสำหรับการเริ่มต้นของธุรกิจ สามารถใช้ linkedIn ค้นหา มืออาชีพที่มีประสบการณ์เพื่อทีมในฝัน จากประวัติของผู้เชี่ยวชาญกว่าสิบล้านรายชื่อ ดังนั้น LinkedIn ควรเป็นแหล่งข้อมูลแรกที่จะใช้ในการรับสมัครหาคนมาร่วมทีม
มาเริ่มต้นกันดีกว่า
ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ (Information for Employers)
หากว่าแผนก ทระพยากรบุคคล(HR) ของคุณพยายามถ่ายงานให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคุณในเรื่องเทคนิคที่ทาง แผนกทรัพยากรบุคคลยากจะเข้าใจ คุณสามารถใช้ LinkedIn ในการแก้ปัญหานี้ได้
- ค้นหาประวัติ LinkedIn โดยใช้ Keyword
- พิจารณาประวัติของสมาชิกใน LinkedIn แต่ละคนซึ่งอาจจะรวมไปถึง ประสบการณ์และคำแนะนำตัวของเจ้าของประวัติ
- มองหาเครือข่ายของพวกเขา เพื่อจะเป็นช่องทางในการพบประวัติคุณสมบัติเหมาะสมมากขึ้นจากเครือข่ายของพวกเขาอีกที
- ติดต่อพวกเขาโดยการร้องขอ เพื่อจะพบข้อมูลที่ละเอียดเพิ่มเติม
- พิจารณาคำถามที่พวกเขาได้ตอบ เพื่อศึกษาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเขา
- สามารถปฏิบัติขั้นตอนโดยการออนไลน์ผ่านเวลางานออฟฟิศได้
ประวัติที่พบใน LinkedIn นั้นเปรียบเหมือน Resume ซึ่งจะเพียบพร้อมไปด้วยข้อมูล ที่เห็นได้หมดตั้งแต่ การศึกษา, ประวัติการทำงาน, รางวัล, ผลงาน และข้อมุลส่วนบุคคล สำหรับผู้หางานสามารถเพิ่มข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประสบการณ์ของตน ในแต่ละงานที่ไม่ได้เขียนลงในเอกสารของประวัติการทำงาน
นอกจากนี้ยังสามารถขอให้นายจ้างเก่ารับรองประวัติของพวกเขา ก่อนจะติดต่อพูดคุยประวัติ ซึ่งพวกเขาสามารถอัพโหลดภาพ ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็นใน Resume
จิตนาการดูว่า คุณมีอำนาจที่จะค้นหาประวัติคนที่ถูกใจผ่านประวัติหลายร้อยประวัติ โดยมีเงื่อนไขที่คุณสามารถตั้งขึ้นได้เองตั้งแต่ต้นทุกอย่างดูง่ายไปหมด
จะมีข้อเสียก็เพียง: อะไรที่อยู่นอกเครือข่าย LinkedIn นั้นคุณต้องจ่ายเงินเพื่อได้ข้อมูลเหล่านั้นมา จริงมั้ยล่ะ?
สิ่งที่ผู้หางานต้องทราบ (Information for Job-Hunter)
หากว่าคุณกำลังต้องการหางาน สิ่งต่อไปนี้เป้นสิ่งที่คุณสามารถทำได้ผ่าน LinkedIn
- สร้างประวัติใหม่โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ให้ละเอียดที่สุดถึงที่สุด เพราะตอนนี้มีประวัติมากกว่า 130,000 ประวัติแล้วรวมนายหน้าหางานด้วยแล้วใน LinkedIn
- ค้นหาฐานข้อมูลโดยใช้ Keyword “เฉพาะ” สำหรับ ชื่อบริษัท, ตำแหน่งงาน และ ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท
- สามารถดูประวัติของบริษัท และ รายชื่อพนักงานในปัจจุบันของบริษัทที่สนใจ
- ใช้ Connection ของคุณสำหรับขอคำแนะนำ จากพวกเขาในบางเรื่อง หรือเพื่อ การเตรียมพร้อมสำหรับการสัมภาษม์งานในบริษัทของเขา
- กระบวนการเหล่านี้ ไม่ต้องเสียเวลาการทำงานในปัจจุบันของที่ที่คุณทำงานอยู่ปัจจุบัน
อาจจะใช้เวลาสัก 2-3 ชั่วโมงเพื่อสร้างประวัติที่สมบูรณ์ใน LinkedIn แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าการเข้าระบบเว็บไซต์สมัครงานดาวน์โหลดแล้วแก้ไขเอกสารใหม่ซึ่งเป็นวิธีเดิมที่อาจจะต้องทำอยู่
- แน่นอนนายจ้างหรือแผนกทรัพยากรบุคคลจำนวนหนึ่งที่อาจจะยังต้องเตรียมวิธีการแบบเก่าซึ่งส่วนตัวแล้วน่าเบื่อมากกับตัวอย่างข้างล่าง
- ประกาศรับสมัครงานตามหลายเว็บไซต์หลายที่ซึ่งจะเกิดข้อมูลไม่อัพเดป
- เอกสารที่ส่งเข้าไปแผนกทรัพยากรบุคคลมีมากมายและประวัติของเราอาจจะวางไว้อย่างแน่นิ่งบนโต๊ะทำงานของแผนกทรัพยากรบุคคลนั้น
- ต้องเสียเวลาเป็นสัปดาห์ หรือเดือนในการติตามหาคนมาสมัครงาน
- พอพบผู้ที่เหมาะสมกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้ ก็จะทำการเรียกสัมภาษม์
- โทรศัพท์ไปถามประวัติอ้างอิงว่ามีตัวตนอยู่จริงทำงานอยู่จริง
- แล้วค่อยเลือกมาสัมภาษม์
มีวิธีอื่นที่ดีกว่า LinkedIn และ วิธีข้างต้นอีกมั้ย?…แน่นอน คงไม่มี
เข้าใจหรือยังว่า ผู้ว่าจ้างหรือนายหน้าหางานบางราย จึงใช้ LinkedIn พิจารณาก่อนที่จะเป็นนายหน้าจัดหางานจัดหาคนทำงานได้ตรง ผู้ใช้บริการนายหน้านั้น แล้วคุณเห็นนายหน้าหางานกี่คนใน LinkedIn?
ข้อมูลสำหรับนายหน้าจัดหางาน หรือ เหล่าผู้รับเหมาอิสระ(Information for Independent Contractors)
สำหรับ นายหน้าจัดหางาน หรือ ผู้รับเหมาอิสระ นี่คือสิ่งที่สามารถทำได้ในบริการของ LinkedIn
- รายชื่อธุรกิจบริการที่ต้องการ แยกตามหมวดหมู่ (Directory)
- ธุรกิจทั้งหลายอัพเดป ผ่านเครือข่ายที่ใช้
- สามารถสร้างกลุ่ม หรือสามารถเข้าร่วมกลุ่ม ที่มีอยุ่ที่สอดคล้องกับธุรกิจที่ผู้รับเหมาอิสระนั้นให้บริการ
- สามารถสอบถามลูกค้าที่มี LinkedIn เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
- สามารถตอบคำถามมากมายในกลุ่มเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและแสดงศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญ (สร้างภาพลักษณ์)
- สามารถค้นหา Keyword เพื่อเจาะจงหากลุ่มลูกค้า
LinkedIn ยังเป็น Reference อ้างอิงสำหรับบทความ หรือหนังสือพิมพ์ที่ ผู้เชี่ยวชาญนั้นได้เขียนหรือแต่งไว้ซึ่งจะเป็นการตามติดผลงานและแหล่งที่มาของ ผลงานนั้น
นี่คงเป็นเพียงแค่การอุ่นเครื่องสำหรับ Social Media ที่ชื่อ LinkedIn แล้วผู้อ่านล่ะมี LinkedIn หรือยัง
และนี่ LinkedIn ของผม:
http://th.linkedin.com/in/banyapon
น่าสนใจดีครับ พอดีมีเพื่อนในเฟสส่งคำชวนมาให้สมัครหลายหนแล้ว เลยลองค้นข้อมูลดู ก็เลยมาอ่านเจอที่นี่ อ๋อ..มันคือที่ฝากประวัติและแหล่งหางานที่น่าเชื่อถือได้นี่เอง..