งานเขียนของผมเองในนิตยสาร E-Commerce magazine ฉบับที่ 131 เดือน พฤศจิกายน: การเติบโตของจำนวนผู้ให้บริการออนไลน์ทางอิน-เทอร์เน็ตส่งผลให้เกิดการแข่ง ขันที่ต้องเปลี่ยนรูปแบบและการให้บริการให้แตกต่างและมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างตรงเป้าหมายของกลุ่มผู้ใช้

ทุก วันนี้บริการพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นล้วนเติบโตและขยายเข้ามาสู่โลกอินเทอร์เน็ต หลากหลายองค์กรทำการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนและศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ หรือที่เรียก Cloud Computing ซึ่งเคยได้แนะนำให้ได้รู้จักกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักส่วนหนึ่งของบริการ ที่เรียกว่า Software as a Service หรือ SaaS
Cloud Computing นั้นคือ การประมวลผลที่ซ่อนความยุ่งยากของการทำงานในตัวระบบทำงานบนเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่ใจกับการทำงานเมื่อเกิดประมวลผล เช่น พื้นที่ในการจัดเก็บ ข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น แต่ในส่วน SaaS หรือ Software as a Service นั้น เป็นโมเดลด้านธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่เป็นเสมือนซอฟต์แวร์ หรือบริการบนการประมวลผลกลุ่มเมฆ เน้นการตอบสนองของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แต่เปลี่ยนธุรกิจในการสร้างรายได้จากที่ขาย License ในตัวซอฟต์แวร์ มาเป็นการให้บริการ (Service) แทน ซึ่งถ้ามองในปัจจุบันยิ่งมีผู้ให้บริการ Cloud Computing มากเท่าไร ผู้ให้บริการ SaaS ก็ยิ่งมีช่องทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์บริการได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นเท่านั้น
SaaS นั้นไม่ใช่รูปแบบธุรกิจที่ใหม่สักเท่าไร เพราะเคยมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนกันอย่าง ASP (Application Service Provider) เมื่อหลายปีก่อน ตัวอย่างที่ชัดเจนเลยเมื่อก่อนได้แก่ Saleforce หรือ Google Apps หากเห็นได้ชัดเจนและตรงกับที่ SaaS เป็น ก็คงจะหนีไม่พ้น Saleforce ที่ไม่ได้เพียงทำการ จำหน่ายซอฟต์แวร์แต่ให้เป็นการให้เช่าใช้ Function Service การทำงานและเก็บค่าบริการตามปริมาณการใช้งาน เป็นต้น

SaaS บางทีก็มีคนเรียกว่า On Demand Software หรือที่ย่อว่า ODS แต่คำเรียกของ ODS และรูปแบบของ ASP นั้น ยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่ศึกษาหรือผู้สนใจเท่ากับชื่อ SaaS เป็นเสมือนว่า ซอฟต์แวร์ (Software) หรือ แอพพลิเคชั่น (Application) ที่ใช้งานบนเว็บที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้ง และที่สำคัญ ผู้ให้บริการ SaaS นั้น สามารถเรียกเก็บค่าบริการ ได้ตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน (Pay Per Use) หรือตามจำนวนโปรโมชั่น (Promotion)
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะบริการของ SaaS ผู้ใช้บริการสามารถทดลองใช้ตามจำนวนครั้งที่ใช้บริการนั้นๆ หากผู้ใช้บริการเห็นว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่คุ้มค่า ไม่ต้องลงทุนราคาสูงก็สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้บริการต่อ แต่ถ้าหากว่าใช้บริการนั้นไม่พอใจในระบบของตัวซอฟต์แวร์ หรือแอพพลิเคชั่นก็สามารถหยุดใช้ได้ทันที ต่างกับการซื้อขาย License ของซอฟต์แวร์สมัยก่อน ที่ต้องวุ่นวายกับสัญญารายปี ค่าใช้จ่ายของการ Support และ Maintenance
ดังที่กล่าวไว้ SaaS เป็นรูปแบบซอฟต์แวร์รูปแบบใหม่บนการประมวลผลกลุ่มเมฆที่คิดค่าบริการตาม จำนวนครั้งของการบริการ ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายแบบ License หรือ Support ดังนั้น กลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่สนใจบริการจะได้ข้อดีมากมายกับธุรกิจของตัวเอง ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเป็นจำนวนครั้งในการใช้ หรือตามอัตราการบริการในการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาหรือจัดซื้อ ผู้ใช้บริการจะได้รับบริการซอฟต์แวร์ และการประมวลผลฮาร์ดแวร์ แบบมีประสิทธิภาพบนกลุ่มเมฆอย่างดีที่สุด
สามารถคำนวณบริหารงบจัดการ ค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์องค์กรได้ชัดเจนขึ้น และง่ายต่อการจัดสรรดำเนินการ เพราะส่วนใหญ่แล้ว โปรโมชั่น (Promotion) หรือ อัตราค่าบริการของ SaaS นั้น มักจะเป็นอัตราที่แน่นอนไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ไม่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นหรืออัพเกรดของซอฟต์แวร์ก็ทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน ไม่เหมือนกับการซื้อ License หากมีการเปลี่ยนเวอร์ชั่น หรืออัพเกรดของซอฟต์แวร์นั้น ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการ Maintenance และ Support หากลงติดตั้งซอฟต์แวร์หลายเครื่องก็ต้องทำการอัพเกรดทุกเครื่องที่ลงซอฟต์แวร์
ซึ่งส่วนของ SaaS นั้นไม่จำเป็น ตัดส่วนราคาที่แพงและการติดตั้งการต่อเติมส่วนเสริมที่ยุ่งยากออกไป ลดต้นทุนในการหาฮาร์ดแวร์ดีๆ เพิ่มข้อดีในส่วนที่ผู้ขอบริการใช้งานโดยการเรียกผ่านเครือข่าย ผ่าน Browser ผ่านระบบ Cloud ระบบมีความยืดหยุ่น พัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา ดัดแปลงให้ตรงกับธุรกิจของผู้ขอใช้บริการให้เข้ากับองค์กร
หากมองแล้วว่า SaaS หรือ Software as a Service นั้นไม่ใช่แนวคิดที่ใหม่เกินไป และก็ไม่เก่าเกินไป SaaS ในวันข้างหน้าอาจจะเป็นซอฟต์แวร์รูปแบบแนวคิดใหม่ ที่จะมีบทบาทจำเป็นต่อผู้ประกอบการการให้บริการหลากหลายธุรกิจ และมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการที่ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ อาจจะเปลี่ยนแผนการพัฒนา ดังเช่น Saleforce หรือไม่เว้นแต่ SAP
Microsoft เองก็เล็งเห็นจุดแข็งของ SaaS เริ่มให้บริการ Microsoft SaaS Platform (Microsoft Online Services หรือ Software Plus Service) เช่นกันเมื่อไม่นานมานี้ แต่ส่วนใหญ่ของชุดซอฟต์แวร์นั้นยังเป็นการติดตั้งตัวโปรแกรม Client ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานแล้วทำการร้องขอใช้ฟังก์ชั่นการทำงาน และบริการผ่านเครือข่ายของทาง Microsoft อยู่ ส่วนทางด้านค่าย Google นั้น เคยได้ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่อยู่บนการประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เช่นพวก Google Docs และ Google Maps ที่เคยกล่าวไว้แล้ว
สรุปก็คือ SaaS จัดเป็นรูปแบบใหม่ในการขายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เฉพาะงานแบบใหม่ ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการซื้อขายซอฟต์แวร์ในรูปแบบเก่า ซึ่งจริงๆ ผู้ใช้บริการที่ได้รับบริการจะได้ประโยชน์มากขึ้น โดยอาศัยแนวคิดอย่างง่ายก็เพียงแค่คิดว่า “ซอฟต์แวร์” มันก็คือ “บริการ” อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง และเราก็ “จ่ายเงินเพื่อใช้งานตามจำนวนครั้งที่จ่ายคล้ายการใช้บัตรเติมเงิน” ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเทคโนโลยีที่ได้มีการใช้งานผ่านหูผ่านตากันบ้างแล้วในปัจจุบัน ทั้งยังเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานทั้งทางองค์กร การค้า พาณิชย์ต่างๆ ซึ่งในอนาคตนั้นอาจมีการเพิ่มการใช้งาน SaaS หรือเจ้า Software as a Service ควบคู่กับการให้บริการผ่านกลุ่มเมฆอย่างเจ้า Cloud Computing กันมากขึ้น
บทความนี้ถูกเขียนลงนิตยสาร E-Commerce magazine ฉบับที่ 131 พฤศจิกายน 2552
บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ต จำกัด 42/38 ซอย โชคชัยร่วมมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต |
แขวงจอมพล เขตจตุจักร |
กรุงเทพฯ |
10900 |