ช่วงเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจด้าน Infrmation Technology หรือข้อมูลเป็นใหญ่ในโลกออนไลน์ จากที่เมื่อก่นผู้บริโภคสื่อจะอ่านหนังสือพิมพ์ก็ได้เปลี่ยนเป็นเว็บไซต์ โดยมีการนำเสนอมากมายทั้ง News Center, Rss Feed ไปจนถึงวิธีมาตรฐานอย่าง Web 2.0 และสุดท้ายก็ต้องยอมรับว่า Social Media เช่น Facebook และ Twitter นั้นมีส่วนช่วยเหลือผู้ให้บริการข่าวสาร
โดยพฤติกรรมนี้ถือว่าเป็นการยกระดับนักข่าวหรือ Journalist ให้มีทักษะเทียบเท่ากับ Web Content เพื่อสร้างเครือข่ายด้าน Content Provider หรือ Information Provider ซึ่งการยกระดับนี้เป็นรูปแบบ ที่ต้องรับเปลี่ยนทั้งแนวคิดดั้งเดิมของนักข่าว และ แนวทางการพัฒนาของโปรแกรม ตลอดจน Social Media ที่ได้รับความนิยมนั้นมีการกระจายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน
เมื่อก่อนนั้นประมาณ 6 ปีที่ผ่านมานักข่าวหรือผู้สื่อข่าวนั้น จะมีแนวคิดที่เชื่อว่า Blog เป็นสื่อที่ไม่น่าสนใจและไมีความน่าเชื่อถือและเท่าที่ได้คลุกคลีกับนักข่าวในวงการการลงทุนทำให้ทราบว่า การปลูกฝังแนวคิดดั้งเดิมที่ว่า หากเขียนเนื้อหาดีๆคนก็จะอ่านเยอะๆและเอาแนวคิดนี้มาผูกติดกับเทคโนโลยี Web 2.0 ซึ่งทางนักข่าวบางกลุ่มจะมีทัศนคติที่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับกับ Bloger ในสมัยนั้นหากว่ามี Blogger ในสมัยนั้นมีคนติดตาม Blog มากกว่าเนื้อหาที่ตัวเองเขียนจะเป็นเหตุให้เกิดอคติกับเทคโนโลยี แต่พอ วกกลับมาดูในปัจจับันแล้ว นักข่าว เองที่ลดอคติเกี่ยวกับ Blog และเกิดการยอมรับแบ่งปันความเห็นและใช้ช่องทาง ผ่าน Social Mediaมากกว่าร้อยละ 66 ในประเทศไทย ปัจจุบันผู้สื่อข่าว นักข่าว ตลอดจน คอลัมนิสนั้น แทบจะมี Blog, Facebook และ Twitter เกือบทุกคน
วิธีการรายงานข่าวที่ ยกระดับ สื่อโดยให้นักข่าวนั้นต้องเข้าใจสถาปัตยกรรมของ Web 2.0 social mediaRss, Google Alerts, Live Search, Twitter และที่สำคัญนักข่าวควรจะต้องมีแรงจูงใจที่จะเข้าร่วมสังคมออนไลน์ Community ต่างๆ เช่น Facebook, Ning, MySpace, Hi5 เพราะการที่คุณเข้าร่วม สังคมอนไลน์อย่าง Social Media นั้นมีข้อดีคือ ทำให้เกิดการตอบสนองความคิดเห็นส่วนหนึ่งของงานของคุณ นั่นเอง