Social Design เป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่าง Product Design ที่มีการเพิ่มประสบการณ์ด้านสังคมออนไลน์ หรือ Social Experience การสร้างประสบการณ์ร่วมกับคนหมู่มาก
เป็นแกนกลาง ให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมทั้งหลายได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในการเป็น Social Design นั้นก็คือสื่อทุกประเภทที่อยู่บนแพลตฟอร์มของ Facebook, Twitter และ Google+ นั่นเอง
ส่วนผสม 3 สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็น Social Design
สิ่งเล็กที่เป็นหัวใจหลักของเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือ Social Network ที่ถูกนักการตลาดผู้สร้างสรรค์ออกแบบให้เกิดเป็น Social Design นั้นล้วนเกิดขึ้นมาจาก เกณฑ์ที่เป็นสามัญของ Social Media อยู่ 3 สิ่งคือ การมีตัวตน (Identity) การสนทนา (Conversation) และ การมีส่วนร่วม (Community)
- สำหรับการมีส่วนร่วม หรือ Community นั้น ก็การใช้ข้อคิดเห็น ความเห็น วิจารณ์จากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในการตัดสินใจบางสิ่ง
- การสนทนา หรือ Conversation นั้นอาจจะเป็นการโต้ตอบระหว่าง พวกเรา กับใครสักคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันกับเรา
- การมีตัวตน หรือ Identity นั้นก็เปรียบเสมือนกับว่าตัวตนที่เราต้องการระบุให้คนในเครือข่ายของเราทราบว่าเราเป็นใคร
Social Experience จึงไม่ใช่เทรนด์ของการเป็น บุคคลนิรนาม ที่หาตัวจับยาก เช่นนักแต่งนวนิยาย หรือ บรรณาธิการ ที่ใช้นามแผง ใช้ชื่อเสียงแต่ไม่ปรากฏภาพของตนเองออกมา ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้นการที่เราอยากจะค้นหาว่าบรรณาธิการคนนี้จากหนังสือหรือคอลัมน์ที่เราชอบนั้นเป็นใคร เราอาจจะต้องพยายามที่จะติดต่อไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แต่ในยุคนี้มันไม่ใช่ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ และโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเดินไปพร้อมกัน การไร้ซึ่งตัวตนที่ระบุว่าเราคือคนที่มีชีวิตในโลก Social Media หรือโลกของการสื่อสารยุคนี้ หรือที่เรารู้ว่า “Low Profile” นั้นคือ “ตาย” หรือ “Dead” เหตุผลหลักๆ ถ้าคุณคิดจะมีเพื่อนเพียง 80-300 กว่าคนเพื่อบอกว่าคุยกันแวดวงแค่นี้เพราะไม่ชอบให้คนรู้เรื่องส่วนตัว กลับไปใช้อีเมลเถอะครับ
สำหรับเรื่องของ “Low Profile” แม้ว่าอีกนัยหนึ่งจะหมายถึงความปลอดภัยจากการคุกคามบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ผมคิดว่าประเด็น 2 เรื่องนี้มันอยู่คนละเรื่อง และไม่เกี่ยวกันแม้แต่น้อย ดังนั้น Social Experience จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยการมีตัวตน (Identify) และการสนทนา (Conversation) จากบุคคลที่มีจริง แสดงความคิดเห็นและจับต้องรู้สึกถึงแง่มุม และคำแนะนำได้เหมือนการพูดคุยกันซึ่งหน้า ผู้บริโภคของแบรนด์สินค้าที่ใช้ Social Media ในการทำ CRM หรือ Customer Relation Management นั้นชอบที่จะพูดคุย และรับฟังการบริการจากประโยค และความเห็นจากแบรนด์ในลักษณะของคน มากกว่า Copy Writer ครับ
โมเดลของ Social Design
จากสิ่งที่พูดมาข้างต้นทำให้เราทราบว่า Social Design นั้น สามารถออกแบบขึ้นมาได้เพื่อให้เกิด Social Experience โดยอาจจะต้ออาศัยการทำงานของระบบ เช่น ให้ ผู้คนสามารถสร้างตัวตนของตนเอง ระบุ Identity ที่เป็นตัวเองขึ้นมา ต่อจากนั้นก็อนุญาตให้ผู้ที่อยู่ในระบบที่ทำการระบุตัวตนนั้นสร้างกลุ่มสนทนา หรือ Community ของตนเองกับคนที่ชอบอะไรคล้ายคลึงกันขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน ความชอบในแต่ละเรื่องก็อาจจะยกตัวอย่างจาก Facebook Like ของ Fan Page ในแต่ละประเภทนั่นแหละครับ (Music, Books, Movies, Etc…)
ต่อจากนั้นก็ทำการใช้ Conversation จับความรู้สึกหรือ Sentiment จากผู้ที่อยู่ในเครือข่ายออกมา โดยอาจจะแยกออกมาเป็น Effective Conversation
Effective Conversation นั้นประกอบไปด้วย ประสบการณ์จาก Social Experience 2 ส่วนของผู้ใช้งานคือ
- Listening: การรับฟังความเห็นแนวโน้มความนิยมโดยวัดจาก Personalized Content และ User Activity
- Speaking: การสร้าง Feed Back ต่อผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความผูกพันะ์กับแบรนด์ (Engage)
หลังจากได้ Social Design ในส่วนของ Experience แล้ว ก็คงต้องกลับไปออกแบบ Identity หรือจัดสรรตัวตนของคนที่กลุ่มคนในเครือข่ายเชื่อถือออกมา กระบวนการนี้เรียกว่า Curate Identity ครับ
จะเห็นว่า หลักของการออกแบบ Social Design นั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และมีมานานแล้ว เพียงแค่พอมียุคของ Social Media Marketing เข้ามาการออกแบบประเภทนี้ก็เลยชัดเจนขึ้น เพราะมันก็ไม่ต่างอะไรกับการออกแบบ Product Design แต่เพียงแค่ Social Design นั้นมันอาจเห็นไม่เป็นรูปร่างแต่มันรู้สึกได้ครับ