Tech & Gadget Gang

กว่าจะได้ 3D ต้องมีดีขนาดไหน!

บทความดีๆ จากน้อง Paotoong_PN จากเว็บไซต์ i3 ถ้าพูดถึงเรื่องกระแสของเทคโนโลยีหนัง 3D ในช่วงนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักการหยิบเอา 3D เป็นตัวชูโรงให้แก่หนังเรื่องนี้แน่นอน นั่นคือ Sex and Zen 3D หรือ ตำรารักทะลุจอ นั่นเอง  ด้วยความโดดเด่นของตัวหนังที่ใช้เทคนิค 3D ถ่ายทำให้ความรู้สึกเหมือนจริงมากขึ้นของฉากแอคชั่นและอีโรติคสุขวาบหวิว  ในประเทศเยอรมันนี ในปี 2010 มีภาพยนต์ 3D มากกว่า 21 เรื่องเข้าฉายในโรง  ซึ่งมากกว่าปี 2009 ถึงเท่าตัว และยังไม่รวมในปีนี้ 2011 อีกด้วย เพราะมีภาพยนตร์ 3D ผลิตออกมามากมาย  โดยภาพยนตร์ที่เข้าฉายเหล่านี้  จะถูกพิสูจน์ด้วยจำนวนผู้มาเข้าชมที่กองทุนภาพยนตร์เยอรมัน  หรือ DFFA เฉพาะในปี 2010 ปริมาณผู้เข้าชมที่โรงภาพยนตร์มีอัตราเพิ่มสูงถึง 13.1% เมื่อเทียบกับปี 2009 และ Thomas Schulz โฆษกของ DFFA ให้เหตุผลและอธิบายการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นว่า “ความคลั่งไคล้ในเทคโนโลยีใหม่ทำให้ผู้ชมกระตือรือร้นที่จะดูมากขึ้น” บวกกับราคาตั๋วหนัง 3D ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลตทำรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเลยทีเดียว   จะเห็นได้ว่าผลประโยชน์ในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้เพิ่มมากขึ้นจากภาพยนตร์ 2D ปกติ  แค่ใส่เทคนิค 3D เข้าไป ผู้ชมก็ได้อรรถรสในการรับชมมากขึ้น  รู้สึกถึงบรรยากาศต่างๆ ในภาพยนตร์มากขึ้น และผู้ผลิตเองก็ได้กำไรมากขึ้นด้วยเช่นกัน  โดยเทคนิค 3D นี่แหล่ะที่ผมจะขอหยิบยกมาเล่าประวัติของมันในมุมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

Sex and Zen 3D

 

 

หนังเรื่องไหนไม่เป็น 3D นี่มันเชยจัง

จะเห็นได้ว่ากระแสภาพยนตร์ 3D หรือ สามมิติ นั้น ยังคงดำเนินไปในทางที่ดีขึ้นเรื่องๆ แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2010 อัตราการบริโภคนั้นจะลดถดถอยลงไปบ้า  แต่เมื่อนำมาเทียบกับรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่า ในอนาคตมันต้องเจริญมากขึ้นไปแน่แท้  สำหรับปี 2011 นี้ จะมีภาพยนตร์ 3D มากกว่า 50 เรื่องจ่อคิวเข้าฉายในโรงภาพยนตร์  สังเกตุได้ว่า ตั้งแต่เข้าสู่ปี 2011 นี้ ภาพยนตร์ชื่อดัง จากต่างประเทศทุกเรื่อง จะมีคำว่า 3D อยู่บนโปสเตอร์ หรือโฆษณาแทบทั้งสิ้น  และยิ่งไปกว่านั้น ภาพยนตร์ที่น่าจะถูกทำเป็น 3D และไม่เคยเป็น 3D มาก่อนอย่าง Transformers3: Dark of the Moon  ภาคนี้น่าจะเป็นตัวทำกำไรให้แก่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจ โรงภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก  และตอนนี้ก็ได้มีภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Harry Potter and the Deadly Hollows Part 2 มาต่อคิวอีก ทำให้กระแส 3D ยิ่งกระหึ่มมากขึ้นไปอีก

Transformers3: Dark of the Moon

และนอกจากนี้ไม่ใช่แค่เพียงเทคโนโลยี 3D จากในโรงภาพยนตร์แต่เพียงเท่านั้น  ภายในที่พักอาศัยของเราเองก็ได้มีเทคโนโลยี 3DTV และแผ่น Blu-ray 3D เกิดขึ้นเพื่อรองรับความบันเทิงภายในที่พักอาศัยอีกด้วย  และบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ 3D ทั้งหลายเตรียมข้อเสนอรับกระแสที่กำลังบูมอยู่ในขณะนี้มากมาย  ไม่ว่าจะเป็น ซื้อ 3DTV วันนี้รับสิทธิ์ซื้อเครื่องเล่น Blu-ray ในราคาพิเศษ เป็นการตอกย้ำว่า 3D กำลังฮิตติดลม จากโรงมาสู่บ้านนั่นเอง  โดนนอกจากเครื่องเล่นและอุปกรณ์แสดงภาพแล้ว  ตอนนี้ ในหลายๆบริษัทอย่างเช่น Sony และ Panasonic ก็ได้ผลิตกล้องถ่ายรูป และกล้องวิดีโอ ที่สามารถบันทึกภาพในระบบ 3D ได้แล้วเช่นกัน โดยมีราคาตั้งแต่ 15,000 ไปถึงหลักแสน

 

3D มันมีมาตั้งนานแล้ว ก่อนเราเกิดอีก

วิวัฒนาการของ 3D ที่จริงแล้วมีตั้งแต่ก่อนผมและหลายๆท่านเกิดซะอีก  เพียงแต่ว่ามันไม่ได้รับความนิยมเท่านั้นเอง เราจึงมองข้ามไป จะขอเล่าประวัติที่เกี่ยวข้องซักหน่อยก็แล้วกัน

1838 Charles Wheatstones ค้นพบเทคนิค Stereo Scope ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องมองภาพ 3มิติ ที่ทำให้เกิดการมองเห็นภาพจาก 2มิติ เป็น3มิติ

1849 David Brewster พัฒนากล้องสเตอริโอมองภาพ 3 มิติ  ที่ใช้เลนส์ 2 ตัวรับภาพแทนกระจก เพื่อลดขนาดของอุปกรณ์ลง

1922 The Power Of Love เป็นภาพยนตร์ 3D เรื่องแรกของโลก

3D เรื่องแรกของโลก ที่ใช้เทคนิค Anaglyph และต้องสวมแว่นตา 3D สองสี ที่มีสีแดง และสีน้ำเงินในการรับชม

1953 CinemaScope ในยุคนี้อาจจะไม่ใช่ 3D ที่สมบูรณ์

ต่ด้วยขนาดภาพที่ใหญ่และมีมุมมองภาพกว้างถึง 180 องศา ก็ทำให้ผู้คนหลงใหลได้ไม่น้อยเลย

1954 ทีวีกลายเป็นสื่อบันเทิงขนิดใหม่ ที่เข้ามาแทนโรงภาพยนตร์ในยุคนั้น โรงภาพยนตร์จึงมีความนิยมลดน้อยลง

1983 ภาพยนตร์เรื่อง Jaws

Jaws ภาคใหม่เข้าโรงภาพยนตร์อีกครั้งในรูปแบบ 3D ที่ต้องสวมแว่นตาสองสี แต่ด้วยตัวเนื้อหาและเทคนิคถ่ายทำที่ธรรมดา จึงไม่ได้มีอะไรน่าสนใจมากนัก

สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะทำให้ความบันเทิงภายในห้อง เพิ่มอรรถรสมากขึ้นด้วย 3D แต่ไม่มีทุนและทรัพย์มากพอ ทาง i3 ก็แนะนำให้คุณลองหาประสบการณ์ 3D จาก Feature ใหม่บน YouTube ไปก่อน  โดย ฟีเจอร์นี้จะเปลี่ยนวิดีโอทั่วไปให้เป็นวิดีโอในระบบ 3D บนจอภาพธรรมดาได้หลายแบบ  เช่น Parallel, Cross-eyed, Interleave หรือ Anaglyph ที่ต้องใช้แว่นตา 3D สองสีรับชม  แต่อย่างไรก็ดีฟีเจอร์นี้นั้นก็จำกัดเฉพาะคนที่อัพไฟล์วิดีโอนั้นๆ ว่าได้เปิดคุณสมบัตินี้ไว้หรือไม่  วิธีนึงที่ผู้เขียนไปรู้มานั่นก็คือ เวลาที่คุณอัพไฟล์วิดีโอ ที่ต้องการ  ให้ใส่คำสั่ง yt3d:enable=true ลงในช่อง tags แล้วเซฟไป  เมื่อเปิดวิดีโอขึ้นมาก็จะเป็นแบบวิดีโอด้านล่างนี้ครับ

ซึ่งเราสามารถไปปรับแต่งค่า ทั้งเลนส์จากแว่น 3D อีกว่าจะใช้เป็นสีอะไร  หรือแม้แต่ระบบของหน้าจอที่รองรับ 3D  ซึ่งตอนนี้เราจะรู้ได้เลยว่า 3D นั้นไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด  ถ้าเราจำความเกี่ยวกับแว่น 3D ที่มีสีแดงกับน้ำเงินได้  การสร้างภาพเช่นนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 แล้ว  แต่การสร้างภาพ 3D ในยุคนั้น  พัฒนาได้สูงสุดแค่เทคนิค Stereoscopic  ที่ต้องสวมแว่นตาดู

Nintendo 3DS

แต่ตอนนี้เทคโนโลยี 3D ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ แล้ว  ดังจะเห็นได้จากเครื่องเล่นเกมส์พกพาอย่าง Nintendo 3DS ที่สามารถแสดงผล 3D ได้โดยไม่ต้องใส่แว่นอีกต่อไป  โดยเทคโนโลยีนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีแบบ Parallax Barrier ซึ่งเป็นชั้นเลเยอร์พิเศษ ปิดทับบนหน้าจอทำหน้าที่หักเหแสงให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพที่มุมมองไม่เหมือนกัน

องค์ประกอบของชั้น Parallax ที่ปิดทับหน้าจอนี้ประกอบด้วยชุดของช่องการมองเห็นที่ทำให้ตาแต่ละข้างได้เห็นภาพที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถสร้างความลึกหรือมิติของภาพผ่านการมองเห็นวัตถุที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งของจาแต่ละข้างนั่นเอง   และเพื่อให้มั่นใจ่าตาแต่ละข้างได้รับข้อมูลภาพอย่างถูกต้อง  จึงจำเป็นต้องมีปุ่มบังคับชั้นเลเยอร์ให้หักเหแสงที่ส่องออกมาให้ได้มุมพอดีกับดวงตาแต่ละข้างด้วย  อย่างไรก็ดีมันจะยังทำงานได้ดีเฉพาะกรณีที่สายตาของผู้ใช้อยู่ในมุมและระยะห่างที่เหมาะสมเท่านั้น  สำหรับ Nintendo 3DS แค่รักษาระยะห่างของหน้าจอกับตัวเครื่องไว้ที่ 30-40 เซนติเมตรและอยู่ในมุมองศาที่เหมาะสมเท่านั้น  แม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือที่มีหน้าจอขนาดเล็กและอุปกรณ์ 3D อื่นๆ ก็สามารถใช้เทคนิค 3D นี้ได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้ มันไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมาใช้กับทีวีเท่าไร  เพราะผู้ชมจะมองเห็นเป็นภาพ 3D ได้ตลอดเวลาก็ต่อเมื่อ นั่งชมนิ่งๆ เท่านั้น  ไม่มีการขยับเขยื้อน หรือย้ายที่บ่อยๆ  ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน ที่เราจะนั่งตัวแข็งไม่ขยับอะไรเลย เวลาดูทีวี

สรุปว่าต้องใส่แว่นจึงจะดีที่สุด?


“เราคงตอบไม่ได้ว่า การชม3D ที่ดีที่สุดนั้น จะต้องใส่แว่นหรือไม่ “คำพูดของ Dr.Ulrich Leiner ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาสื่ออินเตอร์แรคทีฟของสถาบัน Fraunhofer Heinrich-Hertz ในกรุงเบอร์ลิน  ซึ่งเพื่อนร่วมงานของกำลังเร่งพัฒนาหน้าจอแสดงผล 3มิติ แบบ Auto Stereoscopic ที่จะทำให้แสดงผล 3D ได้โดยไม่ใช้แว่นตา  แต่ตอนนี้ยังให้ผลลัพธ์ที่ดีได้เพียงผู้ชมคนเดียวเท่านั้น

 

Multiview ที่ทำให้มีหลากมุมมอง


อย่างไรก็ตาม  การแสดงผล 3D รูปแบบใหม่ก็ยังไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว  เพราะยังติดปัญหามุมมองที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งผู้ชม  สถาบันก็กำลังเร่งแก้ไขปัญหาจอภาพที่ใช้พาเนลแบบ MultiView กันอยู่  จอภาพนี้จะทำให้ผู้ชมมองเห็นภาพ 3D ด้วยองศาที่แตกต่างกันได้ถึง 9 ตำแหน่งและจะทำให้โทรทัศน์ที่ใช้พาเนลนี้แสดงผล 3D ได้ลึกกว่าเดิม  แต่ปัญหาหนักใจที่พบก็คือ จะหาสื่อ 3D ที่ถ่ายจากกล้อง 9 ตัว 9 มุมพร้อมกันได้จากไหน


ถ้าใช้คอมพิวเตอร์สร้างหนังแอนิเมชั่นแบบ 3D ก็ยังพอควบคุมจำนวนกล้องไหว  แต่สำหรับการถ่ายทำในระบบฟิล์ม ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเพิ่มรายละเอียดและยากมาก  เพราะขนาดนี้ ยังใช้กล้องได้แค่เพียง 5 ตัวเท่านั้นในการถ่ายทำ  ดังนั้นถ้าต้องการให้มอให้เห็นได้ทั้ง 9 ตำแหน่งก็ต้องอาศัยระบบคำนวณเสริม  เพื่อจำลองตำแหน่งภาพที่ขาดหายไป  แน่นอนว่า ความถูกต้องแม่นยำและความละเอียดที่ได้ ก็จะถูกลดลงไปด้วย ซึ่งตอนนี้มีเจ้าเดียวในตลาดคือ Panasonic ที่ผลิตจอพลาสมา 3D ได้ที่มีความละเอียดสูงเท่า Full HD แต่ราคาก็ทำคนซื้อลมจับได้เช่นกัน


และถ้าต่อไปเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนามากขึ้น  อนาคตเราคงได้เห็นความเป็น 3D มากขึ้นตามสื่อต่างๆ  ซึ่งตอนนี้ได้มีโฆษนาตัวนึงของ TMB ที่ใช้ความสามารถของเทคโนโลยี 3D แบบ Anaglyph ผลิตออกมาให้ ผู้ชมตามบ้านตื่นตาไปรับแว่นสีแดงน้ำเงิน  ใส่มองเพื่อดูโฆษณาแบบ 3D กันไป และใช้ความสัมพันธ์ด้านมิติใหม่กับเงินฝากของธนาคาร

ซึ่งอาจจะทำให้โฆษณาบริษัทอื่นๆ ในอนาคตลองทำด้วย แต่ก็คงจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีตามบ้านอีกแหล่ะครับ บ้านเราใช่ว่าทุกหลังจะเป็น 3DTV และก็ยังไม่มี HDTV ที่ครอบคลุมนัก  สู้เพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ไม่ได้เลย  เพราะเค้ามีครบเลยตั้งแต่ 3G, 4G, HDTV , และยังมี Music Video แบบ 3D วงเกริลกรุ๊ปต่างๆ อีกด้วย ดูแล้วเหมือนมีสาวๆ มาเต้นอยู่ในบ้านเลย  555(เริ่มออกทะเล…จบดีกว่าครับ)


ยังไงก็ขอขอบคุณน้อง Paotoong_PN จากเว็บไซต์ i3 นะครับ สำหรับ Scoop บทความพิเศษ

แต่ประเด็นของ 3D และเรื่องหน้ารู้ตัวผมเองก็เคยพูดประเด็นนี้ผ่าน รายการ App Gang มาแล้วครับ ลองไปรับชมกันประมาณช่วงกลางๆรายการครับ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน