ในวันที่อุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน กำลังจะครองตลาดของโทรศัพท์พกพาทั่วโลก ทั้งต่างประเทศ และ ประเทศไทยของเราเอง ระบบปฏิบัติการของต่ละค่ายต่างยกระดับเพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งต่างพากันปล่อยหมัดเด็ด ปรับแต่งลูกเล่นมากมาย ตั้งแต่ Blackberry OS 6.0 , iOS4 และ ค่ายดังอย่าง Google เองก็ไม่เว้นที่จะพัฒนาแพลทฟอร์มแบบเปิดยอดนิยม อย่าง Android ให้มีประสิทธิภาพ หากมองกลับไปที่คำถามเดิม ที่ว่า “ทำไมเราจึงเลือกใช้สมาร์ทโฟน ในแต่ละรุ่น” แน่นอนว่า คำตอบ ร้อยละ 30 คือเรื่องของไลฟ์สไตล์ แต่ที่แน่นอนสำหรับผู้ใช้ สมาร์ทโฟน แต่ละรุ่นมักให้คำตอบคล้ายกัน ร้อยละ 70 ว่า ประโยชน์ที่ใช้ งานสมาร์ทโฟน เป็นเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ว่าจะเป็น หน้าจอสัมผัส หรือ ปุ่มกดคีย์บอร์ดแบบ QWERTY ในแต่ละเครื่องที่ใช้ แต่สิ่งที่ต้องตอบโจทย์ของชีวิตผู้ใช้งาน สมาร์ทโฟน นั่นคือ เทคโนโลยี ที่เรียกว่า “Push”
เทคโนโลยี Push หากให้อธิบายอย่างคร่าวๆ น่าจะอธิบายได้ว่าเป็นบริการ อินเตอร์เน็ท ที่รองรับทุกระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน จะแตกต่างก็เพียงหน้าจอ ส่วนผู้ใช้ และ วิธีการเชื่อมต่อที่ทางผุ้พัฒนาจะวางโครงสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมระบบยังไง ซึ่งข้อดีที่เห้นได้ชัด และ ยกตัวอย่างได้เห็นภาพมากที่สุดคือ อีเมล์ ประโยชน์ของ เทคโนโลยี Push ที่เห็นได้บ่อยในเครื่องสมาร์ทโฟน อย่าง iPhone, Blackberry และ Android นั้นคือการ รับ-ส่ง อีเมล์ หรือกาสนทนาผ่าน Instant Messenger ของ Blackberry
หรือ จะเป็น บริการ Facebook, Twitter หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ตัวอื่น ไปจนถึงการให้บริการที่ยกระดับให้สมาร์ทโฟน ทำงานกับเทคโนโลยี Push ให้เชื่อมต่อกับ ซอฟท์แวร์ขององค์กรระดับ Enterprise Server อย่าง Microsoft Exchange หรือ Lotus Note ในการสร้างตารางนัดหมาย และ จัดการ รายชื่อ Contact ที่ดึงจากฐานข้อมูลกลางขององค์กรผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ผ่าน API หรือ Service ในการเชื่อมต่อกับเครื่องสมาร์ทโฟน โดยแสดงข้อมูลที่ อ้างอิงกับ บนเว็บไซต์ผ่านระบบ Push ให้มาแสด งผลบน หน้าจออุปกรณ์ในมือของผู้ใช้งาน ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์ ทาง EDGE/GPRS/3G เป็นต้น โดย หน้าที่ใฅ การแสดงผลนั้นเป็นหน้าที่ของ แอพพลิเคชั่น ที่ถูกพัฒนาให้รองรับและทำงานได้บนระบบปฏิบัติแต่ละตัว
กลับมาในหัวข้อที่จะเสนอในบทความต่อ นั่นคือเรื่องของ เทคโนโลยี Push บนระบบปฏิบัติการ Andriod บนสมาร์ทโฟน ที่ทาง Google เป็นผู้พัฒนา ซึ่งหลายคนคงเคยได้ทราบมาบ้างแล้วว่า Google ได้ผลักดันระบบปฏิบัติการ Android ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี Push และ API ตัวนี้มากพอสมควร และ ยังสามารถนำ ระบบ Push API ดังกล่าวมา Plug-in กับ เว้บบราวเซอร์ชื่อดังอย่าง Chrome ให้ทำงานร่วมกันได้ด้วยในบาง Feature ซึ่งหากได้ติดตามข่าวของระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 2.2 เป็นต้นมาจะเห็นได้ว่า บริการ ใหม่ที่ทาง Google นำเสนอให้แก่ชุมชนนักพัฒนา ให้ส่งข้อมุลจาก เซิร์ฟเวอร์ มาติดต่อกับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ผ่าน เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆอย่าง Cloud Computing ที่เรียกว่า Android Cloud to Device Messaging หรือตัวย่อ C2DM จะทำให้การ ซิงค์โครไนช์ข้อมูลจาก เซิร์ฟเวอร์ไปสมาร์ทโฟน เป็นเรื่องง่ายในทันที จากเดิมส่วนใหญ่ คุณจะใช้งานแอพพลิเคชั่นบน สมาร์ทโฟนของคุณ ในการเชื่อมต่อกับข้อมูล โดยการใช้เทคนิคการ Poll หรือ Polling ซึ่งจะเป็นวิธีการที่แอพพลิเคชั่นจะทำการ รีเฟชร เรียกข้อมูลใหม่ตลอดเวลาทำให้เกิดการทำงานที่ซับซ้อนและสิ้นเปลืองพลังงานแบตเตอร์รี่ของสมาร์ทโฟน เช่นการ ใช้ POP Mail ที่แอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนต้อง ร้องขอการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ทุก 15 นาที หรือ มากน้อย กว่านั้นตามที่ผู้ใช้จะตั้งค่า ซึ่งหาก Polling บ่อยเกินไปอาจจะเกิด การขาดตอนของสัญญาณข้อมูลทำให้ ในบางครั้ง เนื้อหาที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ แสดงผล บนสมาร์ทโฟนช้ากว่าปรกติ อีกทั้งยังทำให้เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูล และ ระบบเครือข่าย ที่ให้บริการ ต้องทำงานหนัก
สำหรับ C2DM หรือ Android Cloud to Device Messaging Framework นั้นที่จริงก็ได้ปรากฏตัวใน ระบบปฏิบัติการ Android มาให้เห็นผ่านตาบ้าง อย่าง แอพพลิเคชั่น Gmail Client , รายชื่อ Google Talk และ ระบบปฏิทินนัดหมาย ที่ทำการซิงค์โครไนช์ผ่าน Google Calendar ซึ่งคนที่ใช้งานสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android 2.2 จะคุ้นเคยมาบ้างแล้ว และ ถ้าหากว่า กลุ่มนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ Android ได้สัมผัส C2DM แล้วจะพบว่า นอกจากระบบ Service ที่มีประสิทธภาพ ยัง รองรับการทำงานของนักพัฒนาที่ต้องการใช้ Third-Party Component ให้เชื่อมต่อไปยังระบบอื่น หรือ แอพพลิเคชั่นอื่น ที่จะรองรับบริการของ Google Apps ได้อีกด้วย
องค์ประกอบพื้นฐานของ Cloud to Device Messaging หรือ C2DM นอกจากจะทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 2.2 และ ผูกติดกับบัญชีผู้ใช้งาน Google และ บริการ Android Market และ อณุญาติให้ซอฟท์แวร์การจัดการจำพวก Third-Party เข้าเรียกใช้งานสู่แอพพลิเคชั่นบนแพลทฟอร์มอื่นหรือตัวมันเองแล้ว ผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องยึด หรือ คำนึงกับ ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานหรือ GUI (Graphic User Interface) แค่กำหนดการร้องขอ การเตือน เวลาที่รับ-ส่ง ข้อความจากระบบ บนตัวแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นก็เพียงพอ
ในส่วนของการเรียกใช้งาน C2DM ด้วย บริการ API ขั้นตอนต่างๆในการใช้งานไม่ได้ซับซ้อนมากมาย สำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน Android หากต้องการเปิดใช้บริการ C2DM กับแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานร่วม เพียงแค่มีบัญชีผู้ใช้งานของ Google หากยังไม่มีก็สามารถไปลงทะเบียนขอบัญชีผู้ใช้ หรือ หมายเลข ID ได้ทันที เมื่อ เซิร์ฟเวอร์ของเราต้องการ Push ข้อมูล หรือ Message ไปที่แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เซิร์ฟเวอร์ของเราจะส่งข้อมูล Register ID และ Message ผ่านโปรโตคอล HTTP ไปร้องขอบริการบน เซิร์ฟเวอร์ C2DM ของ Google C2DM จะทำการค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด ผ่าน Back Ground Service เตรียมพร้อมที่จะส่ง Message ข้อมูล ไปที่สมาร์ทโฟน เมื่อ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้รับ ข้อมูล Message แล้วก็จะเป็นหน้าที่ของแอพพลิเคชั่นที่พัฒนามาว่าจะนำ ข้อมูลที่ได้มาประมวลผลทำงานหรือแสดงผลอะไร ตัวอย่างที่ พอจะยกได้ ก็คงจะเป็น Extension ของ บราวเซอร์ ที่ร่วมใช้งานกับ แอพพลิเคชั่หน บน สมาร์ทโฟนนะบบปฏิบัติการ Android 2.2 ที่ชื่อว่า Chrome to Phone ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการเสริม หรือ Extensionที่จะอธิบายหลักการของ C2DM ได้เห็นภาพมากที่สุด จุดประสงค์คือสามารถอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานเว็บบราวเซอร์ อย่าง Google Chrome ไปพบเจอเว็บหรือเนื้อหาดีๆ แล้วต้องการเก็บไว้อ่านหน้าจอโทรศํพท์ หรือ นักพัฒนาที่กำลัง ทดสอบการแสดงหน้าของเว็บตนเอง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมมิ่ง, HTML5 หรือ การแบ่งการแสดงผลตามอุปกรณ์ ที่ตรวจจับ ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาต้องทำการสลับการเข้าใช้เว็บไซต์ทั้งในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือสมาร์โฟน ไว้แก้ไขดีไซน์ หรือ หน้า Source Code ของเว็บเพจนั้น เป็นแอพพลิเคชั่น และ Extension บน เว็บบราวเซอร์ ที่ทำให้ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ทำงานได้สะดวกมากกว่าเดิม
การใช้งาน แอพพลิเคชั่น Chrome to Phone ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร เพียงแค่ทำการติดตั้ง Chrome to Phone บริการเสริมExtension ในเว็บบราวเซอร์ Google Chrome บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และเริ่มติดตั้ง Chrome to Phone Extension บน Android 2.2 สามารถดาวน์โหลดได้ใน QR Code ข้างล่าง หลังจากนั้นก็ทำการเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google ทั้งบนเว็บไซต์ และ สมาร์ทโฟน ขั้นตอนในการส่งหน้าเว็บไวต์ที่เปิดบน Google Chrome ไปยัง สมาร์ทโฟน เพื่อไปแสดงผลต่อ ในสมาร์ทโฟน ก็เพียงแค่กดไอคอนที่มุมขวาบน ของเว็บบราวเซอร์ Google Chrome เพียเท่านั้น URL ของเว็บที่เรากำลังแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์นั้นก็จะถูกส่งไปแสดงผลที่หน้าจอที่สมาร์ทโฟน Android ทันที
จากที่พูดมาและยกตัวอย่างแอพพลิเคชั่นที่ น่าสนใจ ที่จะอธิบายการทำงานให้เห็นชัดเจนแล้ว คงต้องเสริมต่อว่า ที่จริงแล้ว เทคโนโลยี Push อย่าง Cloud to Device Messaging หรือ C2DM ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ใหม่อะไร ถ้ามองในรูปแบบการทำงาน แต่คิดว่าไม่นาน C2DM คงจะได้รับความนิยมขึ้น ตาม ราคา ที่ถูกลงของ สมาร์ทโฟน ในประเทศไทย อีกทั้ง ราคาของระบบปฏิบัติการเปิด อย่าง Android ที่มตั้งแต่ตลาดล่างล่าง ไปจนถึง ตลาดบน ที่นอกจากระบบปฏิบัติการจะฟรีแล้วยังมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นจุดชี้ให้เห็นว่าเหล่านักพัฒนาจะมีทางเลือกในเรื่องอุปกรณ์ในการทดสอบสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่น บน Android ได้มากขึ้น
ดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่น Chrome to Phone บน Android 2.2
บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร
Ecommerce Magazine December No.143
ฉบับ ธันวาคม 2010