Lifestyle'nTrend

รู้จัก EPUB สำหรับสาวก E-Reader มือใหม่

ต้อนรับก่อนจะถึงปี 2011 สำหรับเตรียมพร้อมกับยุคแห่งสงคราม Tablet ที่จะเกิดขึ้นแน่นอน กับอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ LifeStyle และ Techology อย่าง iPad, Samsung Galaxy Tab, Welcom A800 Andriod หรือ BlackBerry Playbook ไปจนถึง Slate และ E-Reader ต่างๆ ที่พร้อมถาโถม เข้ามาเป็นตัวเลือกให้แก่เรา ย้อนกลับมามองถึงต้นทาง ของจุดประสงค์ของเหล่าบรรดา Slate หรือ E-Reader ทั้งหลายนั้น หากอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่มีเนื้อหา หรือ Content แล้ว Tablet หรือ E-Reader ที่อยู่ในมือของเราก็คงไม่ต่างจาก จานพลาสติคร่อน หรือ ของเด็กเล่น ที่สามารถเปิดไฟได้ ไฟล์เนื้อหา หรือ Content ที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่ไหนแต่ไร อยู่บนมาตรฐานของ ADOBE แบบผูกขาดอย่างไฟล์นามสกุล PDF ที่เรารู้จัก แต่ครั้งนี้ผู้เขียนจะเข้ามาแนะนำหนึ่งในตัวจัดการเนื้อหา หรือ Content ที่มีประสิทธิภาพ และ เป็น กุญแจสำคัญของ E-Reader ในปัจจุบัน อย่าง EPUB นั้นเอง

E-Reader กับมาตรฐาน EPUB

หากให้พูดถึงไฟล์ EPUB จะเห็นว่าเป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ (หรือเปล่า?) ที่พูดชื่อนี้กันอย่างติดปากไปถ้วนหน้าเพราะคำว่า EPUB นั้นมันจำง่าย แล้วทราบหรือไม่ว่า EPUB นั้นจริงๆแล้วย่อมากจาก Electronic Publication ซึ่งจะเรียกมันว่าเป็นมาตรฐานของ E-Book ที่ไม่มีลิขสิทธิ ไฟล์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่จะทำงานผ่าน E-Reader ได้นั้นต้องมีรูปแบบ นามสกุล ของไฟล์เป็น .epub คาดหวังจะให้เป็นมาตรฐาน e-Book แบบเปิด ซึ่งมีรูปแบบของหนังสือหรือการแสดงหน้าจะไม่คงที่ (Reflow Able) ลักษณะของ EPUB จะเป็นลักษณะคล้ายการบีบอัดแฟ้มข้อมูลเหมือนการทำไฟล์ Zip เนื้อหาภายในที่ถูกพัฒนาด้วยมาตรฐาน ePub อยู่ในฟอร์แมต XML ที่มีส่วนขยายเป็น .epub และควบคุมการนำเสนอผลด้วย CSS รองรับ META

ทุกวันนี้จะพบว่า E-Reader จะสนับสนุนไฟล์ ที่มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้จัดเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ หากตัวที่ได้รับความนิยมที่สุด ก็คงจะเป็น .pdf ของค่าย Adobe ดังที่กล่าวไว้แล้ว เบื้องต้น รูปแบบเนื้อหาของ pdf นั้น เป็นการจัดว่างอย่างคงผ่าน Tool หรือเครื่องมือการจัดหน้า อย่าง Adobe InDesign หรือ Tools อื่นๆ ซึ่งหากได้ทำการ Compressed ไฟล์ไปแล้ว จะไม่สามารถปรับ หน้าเพจของเอกสารให้เข้าและพอดีกับขนาดของจอแสดงผล ของเครื่องอ่านได้ในบางเวลาแต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ใช้ได้ดีกว่าเดิมมากขึ้น

จัดการ ตำราและเอกสารแบบเดิม

ทุกวันนี้ในปัจจุบันเราไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่าระบบเทคโนโลยี ล้ำสมัย ได้เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น E-Book ก็คือหนึ่งใน นวัตกรรมที่เกิดขึ้นมา และได้รับการยอมรับมากขึ้น นั่นหมายความว่าไฟล์เอกสาร บทความ นิยาย นิตยสาร จะถูกเปลี่ยนรูปแบบให้มาอยู่ในรูปแบบอิเล็คทรอนิค

ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจน ของรูปแบบเอกสาร หรือ บทความ E-Book นี้ เกิดการกระจายและสร้างรายได้ ในรูปแบบ ออนไลน์ และหากมีการเผยแพร่ในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ท หรือ มีบริการที่รองรับ การเลือกอ่าน E-Book เหล่านี้ผ่านเครือข่าย จะสามารถลดความต้องการทรัพยากรกระดาษ และ ใช้งานระบบการจัดทำเอกสารที่ต้องบันทึกบนกระดาษ แบบเดิมในแต่ละหน่วยงานลดลง

บริการคลัง Digital Book ของ True Digital BookStore ในไทย

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะทำ E-Magazine หลายสำนักพิมพ์ จะกระจาย เนื้อหาให้แก่สมาชิกของ นิตยสารนั้นทำการ Download หรือ จำกัดสิทธิในการเปิดอ่านผ่านระบบสมาชิก และยังสามารถซื้อขายหนังสือในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ ควบคู่กับการจำหน่ายหนังสือแบบเดิมที่แผงบนร้านหนังสือ ทำให้กลุ่มผู้เป็นสร้างสรร เนื้อหา Content คิดหากกระบวนการที่จะพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ หรือระบบที่เรียกว่า Digital Right Management (DRM) ทั้งในรูปแบบของระบบการแสดงข้อมูล และ ข้อมูลที่จะ สนับสนุน ผุกขาดกับ การสายผลิตเครื่องอ่าน E-Book Reader แต่ละเครื่องและรุ่น  และ ระบบ DRM ที่พูดนี้ในไม่ช้าจะเป็นอีกธุรกิจที่ จะได้รับความสำคัญมากขึ้นในวันที่เกิดสงคราม Tablet

ลักษณะเด่นของ ePub format คือ

• เป็นระบบเปิด (Open)

• มีอิสระ (Free) ในการจัดการสิ่งต่างๆ

• เนื้อหาตัวอักษรสามารถตัดคำ (Word Wrap) และสามารถปรับขนาดตัวอักษรได้

• สามารถนำภาพทั้งแบบ Bitmap และ Vector ผสมไปกับเนื้อหาได้

• รองรับ DRM – Digital Right Management

• รองรับการฝั่ง Metadate

อ้างอิง

http://www.epubbooks.com/ebook-readers
http://www.stks.or.th/blog/?p=5341

ทราบหรืิอไม่ว่า EPUB ถูกพัฒนาโดย The International Digital Publishing Forum (IDPF) ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 อย่างผสมผสานกัน ได้แก่ Open Publication Structure (OPS), Open Packaging Format (OPF) และ Open Container Format (OCF) มาตรฐานของ e-Book ชุดนี้ช่วยให้เราสามารถแปลงเอกสาร Word, PDF, HTML และ Text File เป็นฟอร์แมตที่สามารถนำเสนอผ่าน Reader ทั้งที่เป็น Application และ Reader อื่นๆ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน