Knowledge

Business Networks เครือข่ายและโทรคมนาคมในธุรกิจ

Communication คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน การพูดคุย การทักทาย การแสดงอารมณ์ เป็นต้น ส่วน Communications คือ การนำเทคโนโลยี มาช่วยในการสื่อสาร หรืออุปกรณ์การสื่อสารเช่นพวกสิ่งพิมพ์, วิทยุ, ทีวี และสุดท้าย ก็คือ Telecommunications หรือ การสื่อสารโทรคมนาคม คือ การส่งข้อมูลในรูปแบบใดๆ เช่น เสียง ตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้สื่อนำไฟฟ้า (Electronic Media)

Business Networks and Telecommunications

Telecommunications in Business
การประยุคใช้ เครือข่ายโทรคมนาคม กับการนำเสนอ ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้านระยะทาง เวลา ต้นทุน และอุปสรรคด้านโครงสร้าง แก้ปัญหาด้านระยะทางไกล ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานธุรกิจจากสถานที่ไกล เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อส่งข้อมูลใบสั่งซื้อของลูกค้าจากพนักงานขายไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัท เพื่อดำเนินการต่อไป

Advantage of Telecommunications
ข้อดีของการมีเครือข่ายโทรคมนาคม
• Better business communication : ช่วยในด้านการสื่อสารทางธุรกิจให้ดีขึ้น
• Geographical distance irrelevant : แก้ปัญหาระยะทางไกล ในด้านพิกัด และ ภูมิศาสตร์
• Greater efficiency : ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
• Information becomes immediately available : ข้อมูลสามารถพร้อมใช้งานได้ทันที
• Better distribution of data : มีการกระจายตัวของข้อมูลที่ดีกว่า
• Instant transactions : การทำธุรกรรมได้ทันที
• Flexible and mobile workforce : มีความยืดหยุ่น และ ทำงานเคลื่อนที่ได้
• Alternative channels : เป็นทางเลือกใหม่
• Network security is risk : การรักษาความปลอดภัยเครือข่าย คือ สิ่งที่เดียวที่เป็นความเสี่ยงขององค์กร

Application Framework
ในเรื่องของมาตรฐานการทำงานของ Application ที่รองรับ เครือข่ายโทรคมนาคม
• Compressing Time : เวลาที่ใช้ในการบีบอัดข้อมูล
• Overcoming Geographic Restrictions : ไม่มีข้อจำกัดในด้าน ภูมิศาสตร์
• Restructuring Business Relationships : ปรับโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจได้


Telecommunications in Daily Use:

Cellular Phone : ใช้ขอบเขตพื้นที่ให้บริการณ์ผ่าน เขตบริการที่เรียกว่า Cell ซึ่งรองรับ E-mail, Fax, GPS และ กล้อง Digitals ที่มีฟังก์ชั่นบอกตำแหน่ง

วิวัฒนาการของ โทรคมนาคมของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Generations in Mobile Communications
• 1st เป็นยุคของ โทรศัพท์ ที่ใช้สัญญาณ Analog
• 2nd มีการเข้ารหัส Analog เป็น Digital (เหมือนการใช้ Modem)
• 3rd มีการเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูล
• 4th ใช้ Packet switching และ การจัดการมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลได้สูงขึ้น

Videoconferencing :
หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ อุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน
• สื่อสารโดยการส่ง ภาพ และ เสียง
• เหมาะกับการประชุม ระหว่างองค์กรที่ มีระยะทาง ห่างกัน เช่น คนละประเทศ
• ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การเดินทาง, ที่พักอาศัย และ เวลา

Fax :
คือ โทรสาร หรือ โทรภาพ เป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ Telecopier

Wireless Payments and Warehousing :
คือ สถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่างๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับ สินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายออกไป เน้นไปที่การใช้ RFID ในการทำธุรกรรมออนไลน์ แบบ เครือข่ายไร้สาย ใน ห้างสรรพสินค้า

Peer-to-Peer File sharing :
คือการใช้ไฟล์ร่วมกันสามารถค้นหาและดาวน์โหลดไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ท

Bittorrent หรือ Btt คือ Protocal :
ประเภทหนึ่ง ซึ่งการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันหรือการ Share File ภายในกลุ่ม Network ในลักษณะคล้ายๆกับ ใยแมงมุมหรือ Peer to Peer ในรูปแบบหนึ่ง แต่มีความสามารถในการ Share File สูงกว่า เพราะ P2P จะจำกัดเรื่อง จำนวนผู้ให้ Share ปริมาณการปล่อยให้ Share จากเจ้าของ File ดังจะเห็นจากการ Load file จาก LimeWire ที่บาง file มีปัญหาเรื่องจำนวนผู้ส่ง File นั้นๆ หรือการกำหนดข้อแม้ต่างๆ ของเจ้าของ file ส่วน Bittorrent เข้ามาเพิ่มความเร็วในการ Share File ให้มากขึ้นข้อดีของ Bittorrent clients คือระหว่างที่เราดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องเรา เราสามารถที่จะอัพโหลดแจกจ่ายชิ้นส่วนไฟล์ให้กับคนอื่นที่ต้องการจะดาวน์โหลดไฟล์เหมือนกันกับเราได้เลยไม่จำเป็นต้องให้เราดาวน์โหลดเสร็จก่อนถึงจะปล่อยได้

Web Empowered commerce :
ตัวเลือกธุรกิจ สำหรับ ช่วยให้การสื่อสารเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

Bandwidth and Media :
• Bandwidth คือ ความกว้าง หรือ ช่วงขนาดของข้อมูล
• Bits per second คือ หน่วยวัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเป็นจำนวนบิตในหนึ่งวินาที
• Baseband เป็นสัญญาณดิจิตอล ที่เข้ารหัสแมสเชสเตอร์ (Manchester encoding) การส่งสัญญาณของเบสแบนด์จะใช้ตัวเส้นเดียวเป็นช่องทางการสื่อสาร จึงจำเป็นต้องมีวิธีที่ใช้จัดการกับช่องทางการสื่อสาร
• Broadband เป็นสัญญาณอนาลอก ซึ่งเข้ารหัส PSK (Phase-Shift Keying) เป็นส่งสัญญาณหลายช่องทาง ข้อมูลที่ส่งจะส่งในช่วงความถี่ที่แตกต่างกันบนสายเส้นเดียวกัน

Tips: Baseband ต่างจาก Broadband ยังไง?  Baseband เป็นเหมือนท่อที่ส่งได้สัญญานเดียว เป็นสัญญาณดิจิตอล ซิงเกิลเพล็ก
Broadband เป็นเหมือนท่อที่ใหญ่และส่งได้เแรงเร็วส่งข้อมูลไดที่ละมากๆ เป็นสัญญาณอนาลอก มัลติ เพล็ก

Media and Speed
• Media คือ การส่งผ่านข้อมูล โดยผ่านตัวกลางควบคุม
• Transmission Speed คือ อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล, อัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณใน 1 วินาที คือ อัตราความเร็วของการส่งสัญญาณนั่นเอง

Networks
คือการที่นำเครื่อง computerหลายๆเครื่อง มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร และใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้

Network Topology

หมายถึงรูปแบบการจัดวาง คอมพิวเตอร์และสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูล ในเครือข่ายด้วยโดยแบ่งโครงสร้างเครือข่าย 4 แบบคือ
• Star Network เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของ หน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลาง ของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

Business Networks and Telecommunications

• Bus Network เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผลต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน

Business Networks and Telecommunications

• Ring Network คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง

Business Networks and Telecommunications

• Tree Network เป็นการสร้าง เครือข่ายแบบ ต้นไม้ ซึ่ง node หรือ Leaf ของ Tree สามารถใช้ Topology ที่แตกต่างเข้าไปเพิ่มได้ เช่น การนำเครือข่ายแบบต่าง ๆ เข้ามาทำงานด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อม ต่อเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียว

Business Networks and Telecommunications

ชนิดของ Networks

Local area network (LAN)
เครือข่าย ตามสำนักงาน หรือ บริเวณเฉพาะที่ เป็นการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

• Client/ Server : รูปแบบการเชื่อมต่อ ภายในระบบ LAN โดยมีเครื่อง Server เป็นศูนย์กลางในระบบ LAN และเครื่องอื่นๆ ที่เรียกว่า Client สามารถเข้าไปดึง ข้อมูลหรือ ใช้ทรัพยากรภายในเครื่อง Server ตัวนั้น

• Peer-to-Peer LAN รูปแบบการเชื่อมต่อภายในระบบ LAN ที่ไม่ต้องมีเครื่อง Server เป็นศูนย์กลางในการควบคุม แต่จะใช้การเชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เป็นทั้งตัวที่ใช้งานและแบ่งปันทรัพยากร

Wireless LANs (WLANs)
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น

• ข้อดี ความยืดหยุ่น ( Scalability) ในการขยายระบบเครือข่าย

 

• ข้อเสีย Wireless networks ความปลอดภัยยังไม่มากพอ

Metropolitan area network (MAN)
ระบบเครือข่ายขนาดกลาง เป็ระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องอาศัยโครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นการติดต่อกันในระดับเขต แต่เป็นระบบเน็ตเวิร์กในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตร

Wide area network (WAN)
ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดตสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยทั่วไปเรียกว่า World Wide Web สามารถส่งได้ทั้ง ข้อมูล ภาพและเสียง โดยจะต้องใช้ media ในการติดต่อสื่อสารโดยจะต้องใช้ คู่สายโทรศัพท์ Dial – up line คู่สายเช่า Leased line / ISDN ขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงจะสามารถใช้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ

Personal area network (PAN)
ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล เทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วไม่สูงมาก นิยมใช้ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ เช่น Infrared และ BlueTooth เป็นต้น

Virtual private network (VPN)
เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของเครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบนเครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถคงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ด้วยการเข้ารหัส package ก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น VPN เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN-Wide Area Network) ที่กำลังเป็นที่สนใจและเริ่มนำไปใช้ในหน่วยงานที่มีหลายสาขา หรือ มีสำนักงานกระจัดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค ในระบบ VPN การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานโดยใช้เครือข่าย Internet แทนการต่อเชื่อมด้วย Leased line หรือ Frame Relay

Business Networks and Telecommunications

Protocol

Protocol  คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ (อ้างอิง OSI Layer ใน Data communications) ซึ่ง protocols บางตัวถูกออกแบบมาสำหรับ WANs, LANs และ การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายหรือ Wireless โดยเฉพาะ

TCP/IP (Transmission Contrl Protocal / Internet Protocal)
หมายถึงมาตราฐานการสื่อสารและส่งข้อมูลผ่าน Internet ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่

LAN Protocols
• Polling มักจะใช้กับเครือข่าย LAN แบบ STAR ซึ่งมีศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารข้อมูล ภายในเครือข่าย ศูนย์กลางจะทำการหยั่งเสียง (Polling) ถามไปยังโหนดต่าง ๆ ของเครือข่ายตามลำดับ ถ้า โหนดใดตอบรับว่าต้องการจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่าย ศูนย์กลางก็จะทำการเลือก (Select) ให้โหนดนั้นมีสิทธิ ในการส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่าย ทำให้โหนดอื่น ๆ ไม่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายเพื่อเป็นการป้องกันการชน กันของขอ้มูล โปรโตคอลแบบหยั่งเลือกผู้ส่งนี้สิ้นเปลืองเวลามาก เพราะต้องเสียเวลาไปกับการหยั่งเสียงถาม โหนดที่ไม่ต้องการจะส่งข้อมูลด้วย
• Contention โปรโตคอลแบบช่วงชิงกันส่งข้อมูล ทุก ๆ โหนดในเครือข่ายที่ต้องการจะส่งข้อมูลจะต้อง คอย “ฟัง” (Listen) สายสื่อสารโดยการส่งสัญญาณสุ่มเข้าไปในสายสื่อสารดูก่อนว่าสายสื่อสารของเครือข่ายนั้น ว่าง หรือมีการส่ง-รับข้อมูลกันอยู่หรือไม่ ถ้าสายไม่ว่างโหนดก็จะต้องรอและคอยส่งสัญญาณสุ่มเข้าไปตรวจสอบ อยู่เรื่อย ๆ เมื่อมีสัญญาณตอบกลับมาว่าสายสื่อสารว่างแล้ว โหนดก็จะสามารถเริ่มส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้

• Token passing ใช้ Token หรือเฟรมควบคุมเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนด หรือ Station ต่าง ๆ รอบเครือข่าย แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบดูสถานะของ Token เองว่าโทเคนที่ผ่านมาถึงโหนดของตนนั้นมีข่าวสารมาถึงตน บ้างหรือไม่ หรือตรวจสอบดูว่า Token นั้นว่างให้ตนสามารถส่งข้อมูลฝากไปกับ Token ไปยังโหนดอื่นในเครือข่าย ได้หรือไม่

WAN Protocols
• OSI (Open Systems Interconnection)
• Standard protocol model
• 7 layers

Wireless Protocol
• IEEE 802.11: เป็นมาตรฐานที่รองรับ มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi
◦    เครือข่ายการเชื่อมต่อที่ระยะทางไม่เกิน 100 เมตรจาก Router
◦    ความเร็วสูงสุด 11 Mbps
• Access point หรือ Hotspot: จุดบริการให้อินเตอร์เน็ท ที่ให้ขอบเขตบริการในการปล่อยสัญญาณ ตามบริเวณต่างๆ
• Encryption: การเข้ารหัส ข้อมูล ที่ส่งไป
◦    กำหนดรหัสระหว่าง ผู้ส่ง (Sender) และ ผู้รับ (Receiver)
• Bluetooth: การเชื่อมต่อไร้สาย ระหว่างอุปกรณ์ด้วยกัน ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร ความเร็วไม่สูงมาก
• Worldwide Interoperability การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วย
• Microwave Access (WIMAX): เพิ่มวงกว้างของสัญญาณ Wireless และ จัดการปรับคุณภาพของความเร็ว
◦    เครือข่าย MAN ในเมืองใช้ WiMAX กันมากขึ้น
• Mobile Broadband Wireless Access
• (MBWA): เชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วยความเร็วมาตรฐานของอุปกรณ์โทรศัพท์
◦    รองรับ IP services
◦    ประยุกค์ใช้กับ Wi-Fi และ Bluetooth
• TCP/IP หรือ Transmission Control
Protocol/Internet Protocol ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet
◦    ตรวจสอบแพ็คเกจ ข้อมูล
◦    ส่งมอบข้อมูล จาก node ไป node ได้แม่นยำ
• Internet backbone ช่องทางที่ ข้อมูลเคลื่อนที่ ได้รวดเร็วที่สุด
• Host คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับ Internet backbone
• IP number ตัวเลขของ Internet Protocol ที่ระบุค่าของแต่ละ อุปกรณ์ ให้แตกต่างกัน บนเครือข่าย
• Domain Name Server (DNS) คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ

Internet network services

  • Downstream ความเร็วที่ได้รับจากเครือข่าย
  • Upsream ความเร็วของการส่งสัญญาณไปเครือข่าย
    Dial-Up Connection เชื่อมต่อโทรศัพท์จาก Analog เป็น Digital เพื่อเข้าสู่ระบบ เครือข่าย
  • Cable TV Connection สัญญาณเคเบิล ทีวี
  • Digital Subscriber Line (DSL)
  • ADSL (Asymmetric DSL)
  • T1 และ T3 lines จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยเฉพาะวงจรดิจิตอล
  • Digital Data Service (CCITT)/DSL เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ที่ใช้สื่อนำสัญญาณชนิดสายตีเกลียวคู่ซึ่ง ถูกใช้สำหรับให้บริการโทรศัพท์มาให้บริการข้อมูลโดยการส่งข้อมูลจะใช้แถบ ความถี่ที่อยู่เหนือขึ้นไปจากแถบความถี่เสียงพูดของบริการโทรศัพท์ โดยมีความถี่ตั้งแต่ 25 กิโลเฮิรตซ์ขึ้นไป
  • Transmission Rate Hierarchical Comparison วิธีเปรียบเทียบ เวลาที่ใช้สำหรับการเดินทางของสัญญาณ กับ ระยะเวลาที่ทำการส่งข้อมูล
  • Satellite สัญญาณดาวเทียม
  • VSAT Network ระบบเครือข่ายสถานีดาวเทียมขนาดเล็กวีแซท สะดวกในการเคลื่อนย้าย และที่สำคัญก็คือ ราคาของสถานีวีแซท มีราคาไม่แพงมาก
  • Fixed Wireless อุปกรณ์แปลงสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้สามารถใช้งานร่วมกับโทรศัพท์พื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่าย ติดตั้งได้ง่ายทุกที่ ทั้งที่พักอาศัย สถานที่ก่อสร้าง โรงงาน โรงแรม ธนาคาร รีสอร์ท แม้กระทั่งบนรถยนต์ หรือออกงานนิทรรการต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่โทรศัพท์พื้นฐานเข้าไม่ถึง
  • Optical Carrior ระบบเครือข่าย ซึ่งใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นสื่อ
  • Broadband over Power line (BPL)  แนวคิดในการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนโดยผ่านทางปลั๊กไฟฟ้าตามบ้าน หรือสำนักงาน จัดเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงที่สามารถกระจายบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะทุกบ้านต้องเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าอยู่ แล้ว บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาก จากอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ของประเทศเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำ สัญญาณผสมเข้าไปกับแรงดันไฟฟ้าที่อยู่ในสายส่งไฟฟ้า

The Future of Networking Technology

Broadband Telephoning

  • VoIP หรือ เทคโนโลยี Voice over IPนั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ สำหรับการโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่าย Internet  ซึ่งมีข้อดีอันดับแรก ๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการโทรได้ ไม่ว่าจะเป็นการโทรภายในประเทศ  หรือการโทรระหว่างประเทศก็ตาม เพราะการโทรศัพท์ผ่านทางระบบ Internet นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานผ่านทางชุมสายโทรศัพท์  ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายของส่วนที่ให้บริการด้วย  แต่การโทรศัพท์ผ่านทาง Internet  นั้น จะเป็นการทำงานโดยอาศัยหลักการเดียวกับการส่งข้อมูลผ่าน
  • Internet RFID (Radio Frequency Identification) เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็ก (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูล

Business Networks and Telecommunications

การนำระบบ RFIDไปใช้งาน
เราสามารถนำระบบ RFID ไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมการผลิต การค้า หรือการบริการต่างๆ ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลที่ต้องการได้ เช่น บันทึกเวลาทำงานของพนักงาน เก็บเงินค่าใช้บริการทางด่วน หรือระบบกันขโมยรถยนต์ แต่การพิจารณานำระบบ RFID มาใช้งานยังคงต้องคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในสภาพแวดล้อม หรือกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระเบียบการใช้คลื่นความถี่วิทยุและกำลังส่งของแต่ละประเทศ

Convergence Technology
การบรรจบ และ ผสานกันของเทคโนโลยี หลายๆแขนงจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ใครที่ก้าวตามเทคโนโลยี และคอยปรับตัวตามอยู่เสมอ ย่อมคว้าโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ได้ก่อนคนอื่น และได้รับสิทธิ์ที่จะเป็นผู้นำแนวหน้าของ ทุกธุรกิจ

Asst. Prof. Banyapon Poolsawas

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ & เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท Daydev Co., Ltd, (เดย์เดฟ จำกัด)

Related Articles

Leave a Reply

Back to top button

Adblock Detected

เราตรวจพบว่าคุณใช้ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ,กรุณาปิดระบบ Adblock ก่อนเข้าอ่าน Content ของเรานะครับ, ถือว่าช่วยเหลือกัน